วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

แก้ไขวิกิ

http://localhost/wiki/index.php?title=mediawiki:Sidebar&action=edit

วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ทลายรูปแบบธุรกิจดั้งเดิมด้วยกลยุทธ์ Long Tail

ทลายรูปแบบธุรกิจดั้งเดิมด้วยกลยุทธ์ Long Tail
ดร. วรัญญู สุจิวรพันธ์พงศ์ (151,987 views) first post: Mon 7 January 2008 last update: Wed 3 December 2008
บทความนี้กล่าวถึงกลยุทธ์ Long Tail ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่หักล้างกฎ 80/20 ด้วยกลยุทธ์ทางธุรกิจออนไลน์ โดยไม่น่าเชื่อว่าธุรกิจที่ขายสินค้าที่มีความต้องการต่ำจะสามารถทำกำไรได้อย่างมหาศาล

Link ที่เกี่ยวข้อง
1.ทฤษฎี Long Tail กับห้องสมุดในยุค Web 2.0
2.“กลยุทธ์หางยาว” ช่องทางใหม่สร้างธุรกิจ SMEs

E-Marketing, E-Business และ E-Commerce

ความแตกต่างกันระหว่าง E-Marketing, E-Business และ E-Commerce

ความต่างๆ ระหว่าง คำว่า E-Business กับ E-Commerce คำว่า E-Business

ปัจจุบันยังมีความสับสนระหว่าง คำว่า E-Business กับ E-Commerce คำว่า E-Business ( เขียนอีกแบบก็คือ eBusiness ) นั้นย่อมาจากคำว่า Electronic Business หรือ ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ความหมาย คือ กระบวนการหรือขั้นตอนใด ๆ

การใช้ Hyperlink

เชื่อว่าคุณเคยเล่นอินเตอร์เน็ตกับมาแล้ว เวลาที่จะไปดูหน้าถัดไป จะคลิกที่คำซึ่งมีสีฟ้าออกน้ำเงินแถมมีขีดเส้นใต้ด้วยใช่ไหม บางทีก็คลิกที่ปุ่มหรือรูปภาพ แล้วจะนำไปยังหน้าถัดไปให้ทันที คำสั่งที่พาไปยังที่หมายเมื่อคลิกนี่แหละคือHyperlink

วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Tacit Knowledge

Tacit Knowledge เป็นความรู้ที่อยู่กับตัวบุคคล ในสมองของแต่ละคน มาจากประสบการณ์ จากการศึกษาที่สั่งสมมา หรือจากพรสวรรค์ จัดเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่สัมผัสไม่ได้ (Intangible Intellectual Asset) โดยปกติแล้วจะยากต่อการแปลความหรือเขียน ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร

หากจะเปรียบเทียบระหว่าง Tacit Knowledge กับ Explicit Knowledge แล้ว Tacit Knowledge ของการเหยียดแขนขวาออกไปด้านข้างให้ตึง หลับตา แล้วค่อย ๆ เลื่อนนิ้วชี้มาแตะปลายจมูกได้อย่างถูกต้อง จะเรียนรู้มาจากประสบการณ์ และความคุ้นเคยของบุคคล หากต้องการแปลงจาก Tacit Knowledge นั้นให้เป็น Explicit Knowledge ในที่นี้จะเป็นอธิบายเพื่อให้ความรู้แก่ผู้เข้ามาศึกษาว่า ควรใช้ความคิดอย่างไร เลื่อนนิ้วชี้อย่างไร กะตำแหน่งปลายจมูกอย่างไร จึงสามารถเลื่อนนิ้วชี้มาแตะปลายจมูก ได้อย่างถูกต้อง

การรับเอาความรู้ที่อยู่ในรูป Tacit Knowledge ของผู้เชี่ยวชาญจึงมักเป็นการเข้าไปคลุกคลีกับเขา เรียนรู้จากการพูดคุย ฝึกปฏิบัติ จนสามารถทำได้ด้วยตนเอง

การบริหารจัดการความรู้ (Knowledge Management)

http://www.lib.ubu.ac.th/km/datakm/km002.pdf

Electronic Data Interchange (EDI)

Electronic Data Interchange (EDI) หมายถึง การแลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกิจ ที่ใช้อยู่เป็นประจำในรูปแบบมาตรฐานผ่านทางคอมพิวเตอ

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุนการทำงานร่วมกันและการตัดสินใจกลุ่ม (Collaborative Computing Technologies: Group Support Systems)

http://suanpalm3.kmutnb.ac.th/teacher/FileDL/padej261255220273.doc

TPS หมายถึง

TPS หมายถึง

ระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ หรือที่เรียกว่า TPS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น โดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นอุปกรณ์หลักของระบบ เพื่อให้ทำงานเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานภายองค์การมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยที่ TPS จะช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานในแต่ละวันขององค์การให้เป็นไปอย่างเรียบร้อยและเป็นระบบ นอกจากนี้ TPS ยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียกสารสนเทศมาอ้างอิงอย่างสะดวกและถูกต้องในอนาคต

ระบบจัดทำรายงานสำหรับการจัดการ หรือที่เรียกว่า MRS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อรวบรวม ประมวลผล จัดระบบ และจัดทำรายงานหรือเอกสารสำหรับช่วยในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร เนื่องจากรายงานที่ถูกจัดทำอย่างเป็นระบบจะช่วยให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ โดยที่ MRS จะจัดทำรายงานหรือเอกสาร และส่งต่อไปยังฝ่ายจัดการตามระยะเวลาที่กำหนด หรือตามความต้องการของผู้บริหาร โดยทั่วไปแล้วการทำงานของ MRS จะถูกใช้สำหรับการวางแผน การตรวจสอบ และการควบคุมการจัดการ ขณะที่ TPS จะรวบรวมและแสดงกิจกรรมนการดำเนินงานเท่านั้น

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ หรือที่เรียกว่า DSS หมายถึง ระบบที่จัดหารหรือจัดเตรียมสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร เพื่อจะช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือเลือกโอกาสที่เกิดขึ้น ปกติปัญหาของผู้บริหารจะมีลักษณะที่เป็นกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง ซึ่งยากต่อการวางแนวทางรองรับ หรือแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ประการสำคัญ DSS จะไม่ทำการตัดสินใจให้กับผู้บริหาร ปัจจุบัน DSS เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจจากบุคคลหลายฝ่าย ซึ่งเราจะนำเสนอรายละเอียดในบทต่อไป

ระบบสารสนเทศสำนักงาน หรือที่เรียกว่า OIS หมายถึง ระบบที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นให้ช่วยการทำงานในสำนักงาน โดยที่ OIS จะประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสารสนเทศ และใช้เทคโนโลยีเครื่องใช้สำนักงาน เพื่อเพิ่มผลิตและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในสำนักงาน โดยเราสามารถกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ OIS มีวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารระหว่างพนักงานภายในองค์การเดียวกันและระหว่างองค์การ รวมทั้งการติดต่อกับ

ลิงค์เรื่องเกี่ยวข้อง

องค์กรและการจัดการ

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ เอไอ (AI) หมายถึงความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต ปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาหนึ่งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมเป็นหลัก แต่ยังรวมถึงศาตร์ในด้านอื่นๆอย่างจิตวิทยา ปรัชญา หรือชีววิทยา ซึ่งสาขาปัญญาประดิษฐ์เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการการคิด การกระทำ การให้เหตุผล การปรับตัว หรือการอนุมาน และการทำงานของสมอง แม้ว่าดังเดิมนั้นเป็นสาขาหลักในวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่แนวคิดหลายๆ อย่างในศาสตร์นี้ได้มาจากการ

คำถามท้ายบทที่ 8 เรื่อง Executive Support System : ESS

ข้อ 1. อธิบายความหมายของ ESS ระบบนี้ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงได้อย่างไร

ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Support System : ESS)

ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Support System : ESS)

เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจประเภทหนึ่งซึ่งได้รับการพัฒนามาโดยเฉพาะสำหรับผู้บริหารระดับสูงเพื่อสันบสนุนการตัดสินใจในปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

OLAP คืออะไร

concept ของ OLAP คือการ denormalize ข้อมูล โดยข้อมูลที่เก็บอยู่ภายใน CUBE จะถูก Consolidate และ Calculate แล้ว ทำให้เราสามารถมอง Data Set ในแต่ละมุมมองได้ เช่น CUBE ของบริษัทผลิตและขายสินค้า เราสามารถดูรายงานในมุมมองยอดขายแต่ละ Product แต่ถ้าเราอยากดูรายงานของการขายในแต่ละเขตก็เพียงแต่หมุนมุมมองตามที่เราต้องการ ซึ่งต่างจาก RDBMS หากรายงานที่เราต้องการดูนั้น ไม่มีอยู่ใน table แล้วเราก็จะต้อง query โดยอาจจะมีการ aggegrate ข้อมูลใหม่เพื่อทำให้ได้รายงานตามที่เราต้องการ

การพัฒนาระบบคลังข้อมูล (Building a Data Warehouse)

การพัฒนาระบบคลังข้อมูล (Building a Data Warehouse)

บทคัดย่อ
ดาต้าแวร์เฮ้าส์ หรือคลังข้อมูล คือฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่รวบรวมข้อมูลทั้งจากแหล่งข้อมูลภายในและภายนอกองค์กร โดยมีรูปแบบและวัตถุประสงค์ ของการจัดเก็บข้อมูลแตกต่างจากฐานข้อมูลปฏิบัตการทั่วไป การพัฒนาระบบคลังข้อมูลเริ่มจากการออกแบบฐานข้อมูล ซึ่งวิธีการหนึ่งเรียกว่า ระเบียบวิธี 9 ชั้นของ Kimball จะเน้นที่การออกแบบจากระบบงานย่อยหรือดาต้ามาร์ทของแต่ละระบบงานในองค์กรก่อนจึงนำส่วนย่อยๆ นั้นมารวมเป็นระบบคลังข้อมูลขององค์กรต่อไป ทั้งนี้กระบวนการหนึ่งที่สำคัญมากในการพัฒนาระบบคลังข้อมูล คือการนำข้อมูลจากแหล่งข้อมูลเข้าสู่ดาต้ามาร์ทของแต่ละระบบ หรือเรียกว่าการแปลงข้อมูล โดยจะต้องกำหนดการส่งข้อมูล รวบรวมหรือสร้างข้อมูลภายนอก วางแผนและสร้างรูทีนการแปลงข้อมูล จึงตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้ก่อนนำเข้าสู่คลังข้อมูลเพื่อให้เป็นข้อมูลที่เหมาะสมที่จะนำไปวิเคราะห์ต่อไป

คลังข้อมูล (data warehouse) คือ ฐานข้อมูลขนาดยักษ์ ที่รวบรวมฐานข้อมูลจากหลายแหล่งหลายช่วงเวลา

คลังข้อมูล (data warehouse)โดยปกติแล้ว ฐานข้อมูลในองค์กรทั่วไปจะมีลักษณะที่ค่อนข้างทันต่อเหตุการณ์ เช่น ฐานข้อมูลพนักงานก็จะเก็บเฉพาะพนักงานในปัจจุบัน จะไม่สนใจข้อมูลพนักงานเก่า ๆ ในอดีต ซึ่งอาจจะมีข้อมูลอะไรบางอย่าง ที่มีประโยชน์สำหรับผู้บริหาร ในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพและคุณลักษณะต่าง ๆ ขององค์กร. นอกจากนี้ ฐานข้อมูลแต่ละอันมักถูกออกแบบมาใช้เก็บข้อมูลเฉพาะด้าน จึงมีข้อมูลเฉพาะบางส่วนขององค์กรเท่านั้น ฉะนั้นคลังข้อมูลจึงถูกออกแบบมา เพื่อรวบรวมข้อมูลในทุกส่วนของทั้งบริษัท ทั้งเก่าและใหม่ไว้ด้วยกัน ไม่มีการลบทิ้งข้อมูลเก่า ๆ ที่ไม่จริงในปัจจุบัน


Business Intelligence คืออะไร มีประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างไร

Business Intelligence คือ ซอฟต์แวร์ที่นำข้อมูลที่มีอยู่เพื่อจัดทำรายงานในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับมุมมองในการวิเคราะห์ แสดงความสัมพันธ์ และทำนายผลลัพธ์ของแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นได้ ตรงตามความต้องการขององค์กร เพื่อประโยชน์ในการวางแผนกลยุทธด้านต่างๆ

MIS BI lecture เนื้อหา 8 พ.ย.52

1.Data ต่างกับ Information อย่างไร
2. Intelligence ต่างกับ ข้อ 1 อย่างไร
Intelligence สูงกว่า Data, Information คือมีความแม่นยำสูงกว่า Info เพราะจะนำไปช่วยในการตัดสินใจได้ ทำให้เกิด Knowledge
4.Dimension มิติด้านข้อมูล

Adhoc คืออะไร

โดยปกติแล้วในการทำรายงานโดยการใช้พวก Report Writer ต่าง ๆ นั้น เราจะทำการเขียน Query และวาง Layout ของรายงานไว้ก่อนแล้ว แต่ส่วนใหญ่รายงานประเภทนี้ไม่เหมาะสำหรับผู้วิเคราะห์ ซึ่งมักจะมีคำถามเกิดขึ้นโดยทันทีที่เห็นรายงาน ซึ่งถ้าเป็นระบบ Report Writer ตามปกติก็ต้องเรียก IT เข้ามาเพื่อขอรายงานเพิ่มเติม
แต่สำหรับระบบรายงานที่รองรับ Adhoc Query นั้น คำว่า Adhoc แปลว่าโดยทันทีทันใด เพราะฉะนั้นความหมายตรง ๆ ก็คือระบบที่ทำให้ผู้ใช้งานซึ่งเป็นผู้วิเคราะห์สามารถสืบค้นข้อมูลได้โดยทันที ไม่ต้องเรียก IT มาจัดทำให้ ตัวอย่างเช่น อยากดูข้อมูลเพิ่มเติม อยากเปลี่ยนมุมมองของรายงาน อยากใส่เงื่อนไขต่าง ๆ ส่วนใหญ่แล้วระบบพวกนี้จะซ่อนความยากของการเขียน Query เอาไว้ เมื่อผู้ใช้อยากได้อย่างไรมันจะ generate query ไปยังฐานข้อมูลให้โดยอัตโนมัติ ถ้าอยากดูความแตกต่างของรายงานทั่วไป ลองเล่น Oracle Discoverer จะเห็นภาพชัดขึ้นนะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การวางแผนการตลาดสำหรับห้องสมุด

การวางแผนการตลาดสำหรับห้องสมุด โดย อ.เอก บุญเจือ ภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552

บทที่ 14 การส่งเสริมการตลาด

บทที่ 14
(Marketing Promotion -- Promoting Product)

รีวิว Windows 7 ตัวจริง

การเดินทางอันยาวนานกับซีรีย์ "รีวิว Windows 7 ตัวจริง" มาถึงตอนจบแล้ว ปิดท้ายด้วยประเด็นด้านภาษาไทย, ประสิทธิภาพ, ข้อสรุปและฟันธงว่าอัพเกรดดีไหม? ควรเอายังไงกับ Windows 7?


วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552

Smart Grid - ระบบส่งไฟฟ้าอัจฉริยะ (ตอนที่ 2)

เมื่อสักต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ที่ผ่านมานั้นบริษัท IBM ได้สร้างความฮือฮาด้วยการประกาศผลกำไรดีเกินคาด ในขณะที่บริษัทดังๆ ในสหรัฐอเมริกา ถ้าไม่ประกาศขอความช่วยเหลือจากรัฐบาล หรือประสบภาวะขาดทุน ก็ต้องมีภาวะผลกำไรติดลบกันทั้งนั้น แต่ IBM กลับมีผลประกอบการดีกว่าเดิม มีการจ่ายเงินปันผลต่อหุ้นที่เพิ่มขึ้น 3% น่าแปลกใจไหมครับว่า IBM ทำอะไร ทำไมถึงสวนกระแสชาวบ้าน ฟังข่าวต่อไปนี้แล้วจะเข้าใจยิ่งขึ้นครับ ......

สมาร์ทกริดเทคโนโลยีจ่ายไฟ ลดโลกร้อน

สมาร์ทกริดเทคโนโลยีจ่ายไฟ ลดโลกร้อน
ประเมินกันว่า มูลค่าโครงสร้างพื้นฐานด้าน "สมาร์ทกริด" หรือระบบโครงข่ายสำหรับส่งไฟฟ้าอัจฉริยะแบบครบวงจร จะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านดอลล์

'นเรศวร'รับ160ล.สร้างนวัตกรรมพลังงานดทแทน

'นเรศวร'รับ160ล.สร้างนวัตกรรมพลังงานดทแทน

29 สิงหาคม 2549 11:17 น.
รัฐบาลญี่ปุ่นหนุนให้พัฒนา "ไมโครกริด" เชื่อมไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน ป้อนชุมชนท้องถิ่นแทนไฟฟ้าระบบหลัก เล็งอีก 3 ปีใช้งานจริงเป็นแห่งแรกในโลก

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : รศ.ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า มหาวิทยาลัยได้รับทุนจากกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่นกว่า 160 ล้านบาท เพื่อร่วมวิจัยและพัฒนาโครงการ "พีวี ไมโคร กริด ซิสเต็ม" (เอ็มจีเอส) กับองค์กรพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและพลังงานใหม่ (NEDO) ของญี่ปุ่น ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวมุ่งพัฒนาด้านพลังงานทดแทน โดยเฉพาะพลังงานจากแสงอาทิตย์และพลังงานชีวมวล เพื่อเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าขนาดย่อย

โครงการวิจัยระบบไมโครกริดมีระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีนี้จนถึง 2551 ครอบคลุมทั้งการออกแบบ สร้างและติดตั้งต้นแบบของระบบเอ็มจีเอส ที่อาคารวิทยาลัยพลังงานทดแทน จากนั้นจะดำเนินการทดสอบการทำงาน ประเมินระบบพร้อมฝึกอบรมการทำงาน และการดูแลรักษาระบบอีกด้วย ทำให้ม.นเรศวรเป็นแห่งแรกของโลก ที่ติดตั้งและใช้งานจริงระบบไมโครกริด

รศ.ดร.วัฒนพงษ์ รักษ์วิเชียร ผู้อำนวยการวิทยาลัยพลังงานทดแทน เพิ่มเติมว่า ระบบไมโครกริดคือ การต่อเชื่อมกระแสไฟฟ้าที่ได้จากพลังงานทดแทน ที่มีอยู่ในแต่ละครัวเรือน หรือแต่ละชุมชน เข้าสู่ระบบสายส่งแรงดันต่ำ เพื่อจ่ายให้แก่ครัวเรือนและชุมชน โดยใช้ระบบไอทีควบคุมการซื้อขายไฟฟ้า ต่างจากระบบไฟฟ้าที่ใช้ในปัจจุบัน ที่เป็นการผลิตกระแสไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ เข้าสู่ระบบสายส่งแรงดันสูง

กรณี ม.นเรศวร จะเป็นการต่อเชื่อมกระแสไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นเองภายในสถาบัน ประกอบด้วย เซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 120 กิโลวัตต์ ระบบสำรองไฟฟ้าด้วยแบตเตอรี่ และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 50 กิโลวัตต์ พลังงานไฟฟ้าที่รวบรวมได้ทั้งหมดประมาณ 150 กิโลวัตต์ ในเบื้องต้นจะนำมาใช้ในวิทยาลัยฯ เพื่อทดแทนไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้หมด 100% จึงช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้ประมาณ 6 หมื่นบาทต่อเดือน

อีกทั้งในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ วิทยาลัยฯ ไม่มีการเรียนการสอนและไม่ได้ใช้พลังงาน อาจจะส่งต่อไฟฟ้าดังกล่าวให้อาคารที่เปิดใช้งาน เช่น โรงพยาบาล คณะที่มีการสอนในวันหยุด เช่น คณะแพทยศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของมหาวิทยาลัย

" วิทยาลัยฯ มีจุดย่อยผลิตกระแสไฟฟ้าหลายจุด ซึ่งให้ขนาดของพลังงานต่างกันตั้งแต่ 5 จนถึง 20 กิโลวัตต์ ทั้งจากเซลล์แสงอาทิตย์ ไบโอแมส-แกสซิไฟเออร์และไบโอดีเซล ไฟฟ้าแต่ละจุดต่างถูกนำไปใช้งานแยกส่วนกัน แต่ไมโครกริดจะทำให้กระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานทดแทนเหล่านี้ เกิดการต่อเชื่อมกันกลายเป็น "คอมมูนิตี้กริด" " ผู้อำนวยการวิทยาลัยฯ กล่าว

หากโครงการเสร็จเรียบร้อยในอีก 2 ปีข้างหน้า จะทำให้วิทยาลัยพลังงานทดแทนเป็นแห่งแรกของโลก ที่นำเทคโนโลยีไมโครกริดมาใช้งานจริง สำหรับไมโครกริดถือเป็นนวัตกรรมพลังงานทดแทนในอนาคต ที่เปลี่ยนระบบซื้อขายไฟฟ้าทั่วโลกให้มีสายส่ง 2 ระบบขนานกันคือ สายส่งหลักแบบเนชั่นแนล/คันทรี่กริด และสายส่งสำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน ซึ่งเอื้อต่อการจ่ายกระแสไฟฟ้าระดับชุมชน อย่าง นิคมอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยและกลุ่มอาคาร เป็นต้น

SMART GRID

เรียนรู้เรื่อง SMART GRID ช่วยลดโลกร้อน http://www.energy.go.th/moen/upload/File/Energy%20Plus/v23/v_energy_inno.pdf

วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2552

วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552

สวัสดี ทดสอบ

สวัสดี พฤหัส 24 ก.ย.2552

วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2552

Web Hosting

เข้าชมเวปไซด์ได้ที่ http://www.peacht.t35.com/index.html

ทดสอบ

ทดสอบ RSS

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552

วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552

การพยากรณ์หน่วยจำหน่ายกระแสไฟฟ้า กฟน.1

http://172.17.113.45/blog-fifa

หัวข้อการศึกษา กรณีศึกษา-แผนการตลาดผลิตภัณฑ์จากใยกัญชง-HEMP

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ยังคงเป็นความจำเป็นของธุรกิจตลาดเคหะสิ่งทอ ในการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วของลูกค้า ตลอดจนการเพิ่มขึ้นของยอดขาย ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทางกลุ่มที่ 10 Ex-MBA รุ่น 10 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้ศึกษาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์ และกลยุทธ์ทางการตลาด โดยเฉพาะเรื่องของการทำ Market Segmentation ของ ผลิตภัณฑ์จากใยกัญชง-HEMP ก็เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการที่จะตีตลาดของเคหะสิ่งทอของประเทศไทย
ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาแนวคิดและขั้นตอนในการพัฒนา ผลิตภัณฑ์จากใยกัญชง-HEMP ของฝ่ายการตลาด โครงการหลวง โดยศึกษาถึงความสัมพันธ์ของพฤติกรรมและปัจจัยด้านต่าง ๆ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สิ่งทอของผู้บริโภค โดยนำปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์จากใยกัญชง-HEMP เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ กลุ่มฯ ได้ใช้ข้อมูลวิจัยการวิจัยเบื้องต้น ของฝ่ายการตลาด โครงการหลวง โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (ผู้บริโภคตลาดระดับบนในกรุงเทพมหานคร) จากผู้มีรายได้ครัวเรือนต่อเดือนมากกว่า 50,000 บาท ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 100 ราย ในเดือนเมษายน 2552 จากห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ และสยามพารากอน เพื่อใช้อธิบายถึงสภาวะตลาด และพฤติกรรมของผู้บริโภคในตลาดผลิตภัณฑ์สิ่งทอทั่วไป จำนวน 100 ตัวอย่าง ทำการสุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา และยังได้ทำการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญถึงความเห็นที่มีต่อแนวทางและรูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development) นำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาทำการวิเคราะห์โดยใช้สถิติร้อยละ เพื่อให้ทราบถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ใยกัญชง-HEMP ของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร
การศึกษาสภาพทางการตลาดของผลิตภัณฑ์จากใยกัญชง-HEMP จากกลุ่มตัวอย่าง พบว่า มีสภาพการแข่งขันที่รุนแรง และมีลักษณะทั่วไปของผู้บริโภคส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 25-34 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี/กำลังศึกษา ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ต่อเดือน 50,000 – 79,999 บาท มีพฤติกรรมในการตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณลักษณะที่ห่วงใยสิ่งแวดล้อม มีสีธรรมชาติ และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทของใช้ในบ้าน ซึ่งน่าจะเหมาะสมที่สุด
ผลการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์จากใยกัญชง-HEMP ของผู้บริโภค พบว่า ประกอบด้วยปัจจัยด้านต่าง ๆ คือ ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ ระดับรายได้ ระดับการศึกษา และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการขาย มีความเป็นไปได้ในการที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาด โดยจากผลการศึกษาสามารถให้ ข้อเสนอแนะในการดำเนินธุรกิจ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการจัดทำกลยุทธ์การตลาด โดยกำหนดการแบ่งส่วนตลาด กำหนดตลาดเป้าหมาย กำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ และสร้างความแตกต่างทางการแข่งขัน เพื่อให้สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ใช้การโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อเน้นการนำเสนอคุณสมบัติเด่นของผลิตภัณฑ์ โดยใช้กลยุทธ์ในการเป็นผู้นำทางด้านต้นทุน และการลดราคาสินค้าเพื่อจูงใจให้ซื้อมากขึ้น

วัตถุประสงค์ของแผนการตลาดของผลิตภัณฑ์จาก HEMP (Marketing Objectives)
1. Market share เพิ่มขึ้น10% ภายในสิ้นปี 2552 และมีกำไรสุทธิ 5 ล้านบาทในปี 2553
2. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากใยกัญชง-HEMP เข้าสู่ Niche Market
3. เปลี่ยนทัศนคติของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์สิ่งทอทั่วไป โดยจูงใจและกระตุ้นให้หันมาบริโภคผลิตภัณฑ์จากใยกัญชง-HEMP โดยทันที
4. สร้างความมั่นใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์จากใยกัญชง-HEMP ในกลุ่มผู้บริโภคที่มีระดับกำลังซื้อสูง
5. เสริมสร้างภาพลักษณ์โดยรวมของผลิตภัณฑ์จากใยกัญชง-HEMP ทางด้านผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของประเทศ (Environmental Concern)

การกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด (Marketing Strategy)
เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์แผนการตลาดของผลิตภัณฑ์จากใยกัญชง-HEMP ในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน ซึ่งความชอบ ความต้องการ และพฤติกรรมของผู้บริโภคมีความหลากหลาย กลยุทธ์การตลาดตามเป้าหมาย (Target marketing) จึงถูกนำมาใช้ ซึ่งหมายถึง การจัดผลิตภัณฑ์ และส่วนประสมทางการตลาดที่แตกต่างกันเพื่อสนองความต้องการของตลาด ที่มีลักษณะความชอบ ความต้องการ และพฤติกรรมผู้บริโภคที่แตกต่างกัน ในการจัดส่วนประสมทางการตลาดให้เหมาะสมกับตลาดเป้าหมายนั้น จำเป็นต้องเริ่มต้นด้วยการแบ่งตลาดออกเป็นส่วนๆ โดยอาศัยปัจจัยที่เกี่ยวกับผู้บริโภค หรือตลาดเป็นพื้นฐานในการแบ่ง หลังจากนั้นจึงกำหนดตลาดเป้าหมาย และกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของบริษัทให้มีความสอดคล้องกับความชอบ ความต้องการ และพฤติติกรรมของตลาดที่เลือกเป็นเป้าหมายนั้น ซึ่งกลยุทธ์การตลาดตามเป้าหมายนี้ กลุ่มฯ ต้องพิจารณา 3 ประการคือ
ประการที่หนึ่ง การแบ่งส่วนตลาด (Market segmentation หรือ Segmenting) เป็นการแบ่งตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ชนิดใดชนิดหนึ่งออกเป็นตลาดย่อยๆ ที่แตกต่างกันทางด้านความชอบ ความต้องการ และพฤติกรรมผู้บริโภคในแต่ละตลาดย่อยๆ นั้น โดยอาศัยคุณสมบัติของผู้บริโภค หรือตลาดเป็นปัจจัยในการแบ่ง ทั้งนี้เพื่อให้สามารถแยกตลาดออกเป็นส่วนๆ (Market Segments) และทำให้เห็นความเด่นชัดที่แตกต่างกันของคุณสมบัติ ความชอบ ความต้องการ และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่อยู่ในแต่ละส่วนของตลาด เพื่อจะได้วางแผน และใช้ความพยายามทางการตลาดได้เหมาะสมกับแต่ละส่วนตลาด ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากใยกัญชง-HEMP แบ่งส่วนตลาดโดยยึดเกณฑ์เพศ วัย รายได้ และรสนิยม เป็นพื้นฐานในการแบ่งตลาดกระเป๋าออกเป็นส่วนๆ (Market Segment)
ประการที่สอง คือการกำหนดตลาดเป้าหมาย (Market targeting หรือ Targeting) ซึ่งเป็นกิจกรรมในการประเมินผล และการเลือกส่วนตลาด (Market Segments) ที่กลุ่มฯ เห็นว่าเหมาะสมกับทรัพยากร และความชำนาญของกลุ่มฯ ตลอดจนเป็นส่วนตลาดที่มีโอกาสทางการตลาด มีศักยภาพในการสร้างยอดขาย และทำกำไรให้กับกลุ่มฯ ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์กระเป๋าของกลุ่มฯ เลือกตลาดเป้าหมายเป็นผู้หญิง อายุ 25-34 ปี รายได้สูง และรสนิยมดี
ประการที่สาม เป็นการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ในตลาด (Market positioning หรือ Positioning) เป็นการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของบริษัทให้เกิดขึ้นในใจของผู้บริโภคในเชิงเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขัน โดยใช้กลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดเป็นเครื่องมือในกระบวนการสร้างตำแหน่งผลิตภัณฑ์ ตัวอย่าง เช่น ผลิตภัณฑ์กระเป๋าของกลุ่มฯ จะกำหนดตำแหน่งทางการแข่งขันสำหรับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มฯ โดยเน้นความเป็นผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากใยกัญชง ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกับมาตรฐานการส่งออก
เครื่องมือ 3 ประการนี้ เราเรียกว่า STP marketing ซึ่งคำว่า STP ย่อมาจาก Segmenting, Targeting และ Positioning

บทสรุป
การนำผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากใยกัญชง-HEMP เข้าสู่ท้องตลาด ทรัพยากร เงินทุนของกิจการเป็นข้อจำกัดในการผลิตเข้าสู่ท้องตลาด ให้สนองตอบความต้องการของผู้บริโภคทุกส่วน ได้ครบถ้วน เพราะผู้บริโภคแต่ละคนมีความต้องการ และมีพฤติกรรมการซื้อที่แตกต่างกันออกไป ดั้งนั้น แทนที่จะกระจายทรัพยากรของบริษัทออกไปยังตลาดทั้งหมด ธุรกิจควรจะเสาะหาส่วนตลาดที่ตนเองสามารถเข้าไปทำการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
การพยายามเรียนรู้พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ และบริการต้องวิเคราะห์วิจัยเพื่อหาคำตอบว่า ใครคือ ผู้ซื้อ (Who) ซื้ออะไร(What) ทำไมจึงซื้อ(Why)ใครเกี่ยวข้องกับการซื้อ(Whom) ซื้อที่ไหน(Where) ซื้อเมื่อไหร่ (When) และซื้ออย่างไร(How) นักการตลาดต้องการรู้ต่อไปว่า ผู้บริโภคตอบสนองการกระตุ้นทางการตลาดต่างๆอย่างไร องค์กรที่สามารถเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคที่ตอบสนองต่อ ข้อเสนอทางด้านผลิตภัณฑ์ การเปลี่ยนแปลงราคา การโฆษณา การส่งเสริมการตลาด จะมีความ ได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน นักธุรกิจและนักวิจัยต่างก็พยายาม ทำการวิจัย เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการสนองของผู้บริโภคต่อการกระตุ้นต่างๆ ละให้ความสำคัญของการ วิเคราะห์และวิจัยถึงความต้องการ และพฤติกรรมของผู้บริโภค เพื่อการกำหนดนโยบายต่างๆ เช่น นโยบายการโฆษณา นโยบายการตั้งราคา และนโยบายการขาย
วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ และพฤติกรรมของผู้บริโภค คือ การหาคำตอบให้กับคำถามที่ว่า ใครเป็นลูกค้า ความต้องการของลูกค้าคืออะไร ซื้ออย่างไร ใช้ผลิตภัณฑ์อย่างไร และปฎิกิริยาของลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์ การวิเคราะห์ประเภทนี้ ตามปกติแล้วมีประโยชน์จำกัด เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่ก็สามารถทำให้รู้กว้างๆ เกี่ยวกับผู้บริโภคมากขึ้น
ในการวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค ต้องตั้งคำถามว่า ทำไมผู้บริโภค ซื้อ หรือใช้ผลิตภัณฑ์ และบริการชนิดนั้นๆ การศึกษาถึงสาเหตุหรือข้อจูงใจ ในการบริโภค อาจจะนำมาซึ่งคำตอบที่เราต้องการ

แบบฟอร์มลงนาม

http://localhost/index2

บทคัดย่อ การพยากรณ์การใช้ไฟฟ้า

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจด้านจำหน่ายกระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ และการดำเนินชีวิตของประชาชนในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา และแม่ฮ่องสอน ซึ่งพลังงานเป็นปัจจัยที่ทำให้โลกมีการพัฒนาขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ และยังเป็นสินค้าที่มีความเป็นสากล (International) มีการซื้อขายกันทั่วโลก ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ น้ำมันปิโตรเลียม และพลังงานประเภทอื่นซึ่งขนย้ายได้ยาก เช่น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และไฟฟ้า ก็ได้มีการขยายเครือข่ายการขนส่ง ท่อ และสายส่งระหว่างประเทศมากขึ้น เช่น ในยุโรป อเมริกา และ แอฟริกา ทำให้การค้าพลังงานระหว่างประเทศมีความสำคัญ และมีการขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากพลังงานเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อทุกๆ อย่าง จึงมีความสำคัญต่อทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง อย่างไรก็ตามการจัดหาให้ได้พลังงานมา และการนำพลังงานไปใช้ ล้วนแต่ต้องอาศัยการลงทุนปริมาณมหาศาล ดังเช่น ทบวงพลังงานโลก หรือ IEA (International Energy Agency) ได้ประมาณการไว้ว่าในช่วงปี 2001-2030 โลกต้องลงทุนในกิจการพลังงานถึง 16 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดยร้อยละ 60 (640 ล้านล้านบาท) ของการลงทุนดังกล่าวจะเป็นการลงทุนในกิจการไฟฟ้า ทั้งในส่วนของการผลิตไฟฟ้า และการสร้างสายส่ง สายจำหน่ายไฟฟ้า โดยตัวเลขที่น่าสนในใจคือ ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย โดยเฉพาะ ไทย จีน อินเดีย และประเทศอาเซียน ซึ่งมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว เป็นกลุ่มประเทศที่ต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยร้อยละ 32 ของความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในโลกจะมาจากภูมิภาคนี้ ที่สำคัญคือ ประชาชนและภาคธุรกิจอุตสาหกรรมต้องใช้ไฟฟ้า ดังนั้นทุกประเทศจึงจำเป็นต้องมีการลงทุนในกิจการไฟฟ้าให้เพียงพอ นั่นก็คือ ไม่ลงทุนไม่ได้ ซึ่งไฟฟ้าเป็นกิจการที่เป็น Capital Intensive การลงทุนจึงมีปริมาณมหาศาลในแต่ละปี
สำหรับประเทศไทยนั้น การที่กิจการไฟฟ้าของประเทศไทยจะสามารถดำเนินอยู่ และเจริญเติบโตได้ในสภาวะของโลกซึ่งมีการแข่งขันด้านกิจการไฟฟ้าอย่างไร้พรมแดนนั้น ต้องมีการปรับตัวเองให้พร้อม “เมื่อโลกเปลี่ยน ถ้าเราไม่เปลี่ยน ก็ย่อมถูกกลืนเข้าไปในความเปลี่ยนแปลง ซึ่งสิ่งที่จะกลืนเรานั้นก็คือ ทุนข้ามชาติ ที่มีการเคลื่อนย้าย และลงทุนอย่างไร้พรมแดน” ทางเลือกของเราก็คือ จะโต้อยู่บนคลื่นแห่งความเปลี่ยนแปลง หรือ ถูกกลืนไปกับความเปลี่ยนแปลงการเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจไทยนั้น ทำให้เราต้องมีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งจะต้องมีการลงทุนปริมาณมหาศาลตามมาเพื่อรองรับความต้องการ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว การที่จะได้มาซึ่งต้นทุนของเงินทุนที่ต่ำที่สุดนั้นเป็นปัจจัยสำคัญ (Key Factor) ปัจจัยแรกของกิจการไฟฟ้า ปัจจัยที่สองที่ตามมาก็คือ การดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของตัวเองให้เทียบระดับสากล

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552

ประโยชน์ของการแบ่งส่วนตลาด


ประโยชน์ของการแบ่งส่วนตลาด
1. ทาให้ทราบถึงความต้องการและขอบเขตความพอใจของแต่ละส่วนตลาด 2. ทาให้ทราบถึงโอกาสทางการตลาด หรือตาแหน่งผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับตลาดเปฺาหมาย 3. ใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกตลาดเปฺาหมายที่เหมาะสมกับความสามารถของบริษัท 4. ทาให้สามารถปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนองความพอใจของผู้บริโภคให้ดีขึ้น 5. ทาให้สามารถปรับปรุงแผนการตลาด และงบประมาณการตลาดได้เหมาะสม

การจัดการเงินทุนหมุนเวียน

การจัดการเงินทุนหมุนเวียน
(Working Capital Management)
เวลาของผู้จัดการการเงินส่วนใหญ่จะหมดไปกับการจัดการเงินทุนหมุนเวียน โดยเฉพาะผู้ที่เริ่มอาชีพงานด้านการเงินใหม่ ๆ งานแรกที่อยู่ในความรับผิดชอบจะเกี่ยวข้องกับเงินทุนหมุนเวียน
นโยบายเงินทุนหมุนเวียนจะเกี่ยวข้องกับคำถามหลัก ๆ 2 เรื่อง คือ
1. ธุรกิจควรจะลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนเท่าไรจึงจะเหมาะสม และ
2. เงินทุนที่ใช้ลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน ควรจัดหามาจากไหน
คำจำกัดความ
ก่อนจะศึกษาเรื่องนโยบายเงินทุนหมุนเวียน ควรทำความเข้าใจกับความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับเงินทุนหมุนเวียน ดังต่อไปนี้
1. เงินทุนหมุนเวียน (Working capital) หรืออาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เงินทุนหมุนเวียนเบื้องต้น (Gross working capital) หมายถึงสินทรัพย์หมุนเวียนที่ใช้ในการดำเนินงาน
2. เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ (Net working capital) คือผลต่างของ สินทรัพย์หมุนเวียน (current assets) หักด้วย หนี้สินหมุนเวียน (current liabilities)
3. เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการดำเนินงานสุทธิ (Net operating working capital –
NOWC) หมายถึง สินทรัพย์หมุนเวียนที่ใช้ในการดำเนินงาน (operating
current assets) หักด้วย หนี้สินหมุนเวียนที่ใช้ในการดำเนินงาน (operating
current liabilities) นั่นคือ NOWC = (เงินสด + ลูกหนี้ + สินค้าคงเหลือ) –
(เจ้าหนี้การค้า + ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย)

Segmentation size

Segmentation size
1. Mass marketing (การตลาดรวม) ใช้กลยุทธ์การผลิตผลิตภัณฑ์แบบไม่แตกต่าง คือเน้นการผลิตจานวนมาก และขายให้กับลูกค้าทุกคนเหมือนกัน ถือได้ว่าไม่มีการแบ่งส่วนตลาดเลย ตัวอย่างเช่น รองเท้ายี่ห้อนันยาง ผลิตรองเท้าแบบเดียวสาหรับลูกค้าทุกกลุ่ม 2. Segment marketing (การตลาดแบบแบ่งส่วน) เป็นการแบ่งตลาดออกเป็นส่วนๆ ตามความ ต้องการของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน เพื่อผลิตสินค้าหรือบริการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม ตัวอย่างเช่น รองเท้ายี่ห้อไนกี้ ทาการผลิตรองเท้าสาหรับกีฬาประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวิ่ง บาสเกตบอล เทนนิส ฟุตบอล เป็นต้น 3. Niche marketing (การตลาดส่วนย่อย) เป็นการแบ่งตลาดออกเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม ตัวอย่างเช่น การผลิตรองเท้าสาหรับผู้ที่ชอบปีนเขา ตีกอล์ฟ เป็นต้น4. Micro marketing / One-to-One(การตลาดเฉพาะบุคคล) เป็นการแบ่งส่วนตลาดที่มีความสมบูรณ์มากที่สุด คือเป็นการแบ่งตลาดออกเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเฉพาะบุคคล ตัวอย่าง ร้านที่รับตัดรองเท้าสาหรับลูกค้าแต่ละคน เป็นต้น

Overview: Marketing Management in the New Economy

จุดประสงค์ในการเรียนรู้
1. การทำตลาดสมัยใหม่ทำอย่างไร (เข้าใจแนวคิด)
2. ในฐานะที่เราเป็นผู้บริหาร เราสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการดำเนินงานด้านการตลาดได้อย่างเหมาะสมได้อย่างไร (นำไปใช้ได้)
3. สามารถทำแผนการตลาดได้
นักการตลาดทำให้ผู้บริโภคมีความต้องการซับซ้อนขึ้นโดยผู้บริโภคทุกวันนี้มีลักษณะดังนี้
1. ผู้บริโภคมีอำนาจซื้อมากขึ้น : เนื่องจากมีบุตรน้อยลง ทำให้มีอำนาจซื้อมากขึ้น
2. มีสินค้าและบริการเกิดมากขึ้น : ทำให้มีการแยกกลุ่มบริการมากขึ้น
3. มีรายละเอียดสินค้ามากขึ้น มีข้อมูลข่าวสารมากขึ้น

Tip: ถ้าคนขายรู้น้อยกว่าเรา เราอาจไม่ค่อยอยากซื้อสินค้านั้น
4. ลูกค้าสามารถสั่งสินค้าและบริการได้ง่ายขึ้น
5. ลูกค้ามีความสามารถในการสื่อสารกับเพื่อนหรือกลุ่มผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น : และมีแนวโน้มสูงขึ้น

ลักษณะของการศึกษาการตลาดในปัจจุบัน
เราจะศึกษาโดยการใช้ทฤษฎีเป็นแค่แนวทางเท่านั้น เราจะนำเอาการเรียนรู้การตลาดโดยประสบการณ์ต่าง ๆ เข้ามาผสมผสานด้วย โดยอาจกล่าวได้ว่าเราเน้นความเข้าใจลูกค้าเป็นหลักและใช้ทฤษฎีเป็น Backup

คำจำกัดความของคำว่า “การตลาด”
การตลาด คือ ตอบสนองความต้องการของลูกค้า และเรามีกำไร โดยการตลาดมีภาระกิจหลัก ๆ คือ
1. หาลูกค้าใหม่ : โดยการจัดหาคุณค่าที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน และ สื่อสารคุณค่าที่เรามีให้ลูกค้ารับรู้
2. รักษาลูกค้าเดิม : สร้างความพึงพอใจ