วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

แก้ไขวิกิ

http://localhost/wiki/index.php?title=mediawiki:Sidebar&action=edit

วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ทลายรูปแบบธุรกิจดั้งเดิมด้วยกลยุทธ์ Long Tail

ทลายรูปแบบธุรกิจดั้งเดิมด้วยกลยุทธ์ Long Tail
ดร. วรัญญู สุจิวรพันธ์พงศ์ (151,987 views) first post: Mon 7 January 2008 last update: Wed 3 December 2008
บทความนี้กล่าวถึงกลยุทธ์ Long Tail ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่หักล้างกฎ 80/20 ด้วยกลยุทธ์ทางธุรกิจออนไลน์ โดยไม่น่าเชื่อว่าธุรกิจที่ขายสินค้าที่มีความต้องการต่ำจะสามารถทำกำไรได้อย่างมหาศาล

Link ที่เกี่ยวข้อง
1.ทฤษฎี Long Tail กับห้องสมุดในยุค Web 2.0
2.“กลยุทธ์หางยาว” ช่องทางใหม่สร้างธุรกิจ SMEs

E-Marketing, E-Business และ E-Commerce

ความแตกต่างกันระหว่าง E-Marketing, E-Business และ E-Commerce

ความต่างๆ ระหว่าง คำว่า E-Business กับ E-Commerce คำว่า E-Business

ปัจจุบันยังมีความสับสนระหว่าง คำว่า E-Business กับ E-Commerce คำว่า E-Business ( เขียนอีกแบบก็คือ eBusiness ) นั้นย่อมาจากคำว่า Electronic Business หรือ ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ความหมาย คือ กระบวนการหรือขั้นตอนใด ๆ

การใช้ Hyperlink

เชื่อว่าคุณเคยเล่นอินเตอร์เน็ตกับมาแล้ว เวลาที่จะไปดูหน้าถัดไป จะคลิกที่คำซึ่งมีสีฟ้าออกน้ำเงินแถมมีขีดเส้นใต้ด้วยใช่ไหม บางทีก็คลิกที่ปุ่มหรือรูปภาพ แล้วจะนำไปยังหน้าถัดไปให้ทันที คำสั่งที่พาไปยังที่หมายเมื่อคลิกนี่แหละคือHyperlink

วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Tacit Knowledge

Tacit Knowledge เป็นความรู้ที่อยู่กับตัวบุคคล ในสมองของแต่ละคน มาจากประสบการณ์ จากการศึกษาที่สั่งสมมา หรือจากพรสวรรค์ จัดเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่สัมผัสไม่ได้ (Intangible Intellectual Asset) โดยปกติแล้วจะยากต่อการแปลความหรือเขียน ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร

หากจะเปรียบเทียบระหว่าง Tacit Knowledge กับ Explicit Knowledge แล้ว Tacit Knowledge ของการเหยียดแขนขวาออกไปด้านข้างให้ตึง หลับตา แล้วค่อย ๆ เลื่อนนิ้วชี้มาแตะปลายจมูกได้อย่างถูกต้อง จะเรียนรู้มาจากประสบการณ์ และความคุ้นเคยของบุคคล หากต้องการแปลงจาก Tacit Knowledge นั้นให้เป็น Explicit Knowledge ในที่นี้จะเป็นอธิบายเพื่อให้ความรู้แก่ผู้เข้ามาศึกษาว่า ควรใช้ความคิดอย่างไร เลื่อนนิ้วชี้อย่างไร กะตำแหน่งปลายจมูกอย่างไร จึงสามารถเลื่อนนิ้วชี้มาแตะปลายจมูก ได้อย่างถูกต้อง

การรับเอาความรู้ที่อยู่ในรูป Tacit Knowledge ของผู้เชี่ยวชาญจึงมักเป็นการเข้าไปคลุกคลีกับเขา เรียนรู้จากการพูดคุย ฝึกปฏิบัติ จนสามารถทำได้ด้วยตนเอง

การบริหารจัดการความรู้ (Knowledge Management)

http://www.lib.ubu.ac.th/km/datakm/km002.pdf

Electronic Data Interchange (EDI)

Electronic Data Interchange (EDI) หมายถึง การแลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกิจ ที่ใช้อยู่เป็นประจำในรูปแบบมาตรฐานผ่านทางคอมพิวเตอ

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุนการทำงานร่วมกันและการตัดสินใจกลุ่ม (Collaborative Computing Technologies: Group Support Systems)

http://suanpalm3.kmutnb.ac.th/teacher/FileDL/padej261255220273.doc

TPS หมายถึง

TPS หมายถึง

ระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ หรือที่เรียกว่า TPS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น โดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นอุปกรณ์หลักของระบบ เพื่อให้ทำงานเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานภายองค์การมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยที่ TPS จะช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานในแต่ละวันขององค์การให้เป็นไปอย่างเรียบร้อยและเป็นระบบ นอกจากนี้ TPS ยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียกสารสนเทศมาอ้างอิงอย่างสะดวกและถูกต้องในอนาคต

ระบบจัดทำรายงานสำหรับการจัดการ หรือที่เรียกว่า MRS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อรวบรวม ประมวลผล จัดระบบ และจัดทำรายงานหรือเอกสารสำหรับช่วยในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร เนื่องจากรายงานที่ถูกจัดทำอย่างเป็นระบบจะช่วยให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ โดยที่ MRS จะจัดทำรายงานหรือเอกสาร และส่งต่อไปยังฝ่ายจัดการตามระยะเวลาที่กำหนด หรือตามความต้องการของผู้บริหาร โดยทั่วไปแล้วการทำงานของ MRS จะถูกใช้สำหรับการวางแผน การตรวจสอบ และการควบคุมการจัดการ ขณะที่ TPS จะรวบรวมและแสดงกิจกรรมนการดำเนินงานเท่านั้น

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ หรือที่เรียกว่า DSS หมายถึง ระบบที่จัดหารหรือจัดเตรียมสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร เพื่อจะช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือเลือกโอกาสที่เกิดขึ้น ปกติปัญหาของผู้บริหารจะมีลักษณะที่เป็นกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง ซึ่งยากต่อการวางแนวทางรองรับ หรือแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ประการสำคัญ DSS จะไม่ทำการตัดสินใจให้กับผู้บริหาร ปัจจุบัน DSS เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจจากบุคคลหลายฝ่าย ซึ่งเราจะนำเสนอรายละเอียดในบทต่อไป

ระบบสารสนเทศสำนักงาน หรือที่เรียกว่า OIS หมายถึง ระบบที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นให้ช่วยการทำงานในสำนักงาน โดยที่ OIS จะประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสารสนเทศ และใช้เทคโนโลยีเครื่องใช้สำนักงาน เพื่อเพิ่มผลิตและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในสำนักงาน โดยเราสามารถกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ OIS มีวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารระหว่างพนักงานภายในองค์การเดียวกันและระหว่างองค์การ รวมทั้งการติดต่อกับ

ลิงค์เรื่องเกี่ยวข้อง

องค์กรและการจัดการ

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ เอไอ (AI) หมายถึงความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต ปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาหนึ่งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมเป็นหลัก แต่ยังรวมถึงศาตร์ในด้านอื่นๆอย่างจิตวิทยา ปรัชญา หรือชีววิทยา ซึ่งสาขาปัญญาประดิษฐ์เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการการคิด การกระทำ การให้เหตุผล การปรับตัว หรือการอนุมาน และการทำงานของสมอง แม้ว่าดังเดิมนั้นเป็นสาขาหลักในวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่แนวคิดหลายๆ อย่างในศาสตร์นี้ได้มาจากการ

คำถามท้ายบทที่ 8 เรื่อง Executive Support System : ESS

ข้อ 1. อธิบายความหมายของ ESS ระบบนี้ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงได้อย่างไร

ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Support System : ESS)

ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Support System : ESS)

เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจประเภทหนึ่งซึ่งได้รับการพัฒนามาโดยเฉพาะสำหรับผู้บริหารระดับสูงเพื่อสันบสนุนการตัดสินใจในปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

OLAP คืออะไร

concept ของ OLAP คือการ denormalize ข้อมูล โดยข้อมูลที่เก็บอยู่ภายใน CUBE จะถูก Consolidate และ Calculate แล้ว ทำให้เราสามารถมอง Data Set ในแต่ละมุมมองได้ เช่น CUBE ของบริษัทผลิตและขายสินค้า เราสามารถดูรายงานในมุมมองยอดขายแต่ละ Product แต่ถ้าเราอยากดูรายงานของการขายในแต่ละเขตก็เพียงแต่หมุนมุมมองตามที่เราต้องการ ซึ่งต่างจาก RDBMS หากรายงานที่เราต้องการดูนั้น ไม่มีอยู่ใน table แล้วเราก็จะต้อง query โดยอาจจะมีการ aggegrate ข้อมูลใหม่เพื่อทำให้ได้รายงานตามที่เราต้องการ

การพัฒนาระบบคลังข้อมูล (Building a Data Warehouse)

การพัฒนาระบบคลังข้อมูล (Building a Data Warehouse)

บทคัดย่อ
ดาต้าแวร์เฮ้าส์ หรือคลังข้อมูล คือฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่รวบรวมข้อมูลทั้งจากแหล่งข้อมูลภายในและภายนอกองค์กร โดยมีรูปแบบและวัตถุประสงค์ ของการจัดเก็บข้อมูลแตกต่างจากฐานข้อมูลปฏิบัตการทั่วไป การพัฒนาระบบคลังข้อมูลเริ่มจากการออกแบบฐานข้อมูล ซึ่งวิธีการหนึ่งเรียกว่า ระเบียบวิธี 9 ชั้นของ Kimball จะเน้นที่การออกแบบจากระบบงานย่อยหรือดาต้ามาร์ทของแต่ละระบบงานในองค์กรก่อนจึงนำส่วนย่อยๆ นั้นมารวมเป็นระบบคลังข้อมูลขององค์กรต่อไป ทั้งนี้กระบวนการหนึ่งที่สำคัญมากในการพัฒนาระบบคลังข้อมูล คือการนำข้อมูลจากแหล่งข้อมูลเข้าสู่ดาต้ามาร์ทของแต่ละระบบ หรือเรียกว่าการแปลงข้อมูล โดยจะต้องกำหนดการส่งข้อมูล รวบรวมหรือสร้างข้อมูลภายนอก วางแผนและสร้างรูทีนการแปลงข้อมูล จึงตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้ก่อนนำเข้าสู่คลังข้อมูลเพื่อให้เป็นข้อมูลที่เหมาะสมที่จะนำไปวิเคราะห์ต่อไป

คลังข้อมูล (data warehouse) คือ ฐานข้อมูลขนาดยักษ์ ที่รวบรวมฐานข้อมูลจากหลายแหล่งหลายช่วงเวลา

คลังข้อมูล (data warehouse)โดยปกติแล้ว ฐานข้อมูลในองค์กรทั่วไปจะมีลักษณะที่ค่อนข้างทันต่อเหตุการณ์ เช่น ฐานข้อมูลพนักงานก็จะเก็บเฉพาะพนักงานในปัจจุบัน จะไม่สนใจข้อมูลพนักงานเก่า ๆ ในอดีต ซึ่งอาจจะมีข้อมูลอะไรบางอย่าง ที่มีประโยชน์สำหรับผู้บริหาร ในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพและคุณลักษณะต่าง ๆ ขององค์กร. นอกจากนี้ ฐานข้อมูลแต่ละอันมักถูกออกแบบมาใช้เก็บข้อมูลเฉพาะด้าน จึงมีข้อมูลเฉพาะบางส่วนขององค์กรเท่านั้น ฉะนั้นคลังข้อมูลจึงถูกออกแบบมา เพื่อรวบรวมข้อมูลในทุกส่วนของทั้งบริษัท ทั้งเก่าและใหม่ไว้ด้วยกัน ไม่มีการลบทิ้งข้อมูลเก่า ๆ ที่ไม่จริงในปัจจุบัน


Business Intelligence คืออะไร มีประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างไร

Business Intelligence คือ ซอฟต์แวร์ที่นำข้อมูลที่มีอยู่เพื่อจัดทำรายงานในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับมุมมองในการวิเคราะห์ แสดงความสัมพันธ์ และทำนายผลลัพธ์ของแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นได้ ตรงตามความต้องการขององค์กร เพื่อประโยชน์ในการวางแผนกลยุทธด้านต่างๆ

MIS BI lecture เนื้อหา 8 พ.ย.52

1.Data ต่างกับ Information อย่างไร
2. Intelligence ต่างกับ ข้อ 1 อย่างไร
Intelligence สูงกว่า Data, Information คือมีความแม่นยำสูงกว่า Info เพราะจะนำไปช่วยในการตัดสินใจได้ ทำให้เกิด Knowledge
4.Dimension มิติด้านข้อมูล

Adhoc คืออะไร

โดยปกติแล้วในการทำรายงานโดยการใช้พวก Report Writer ต่าง ๆ นั้น เราจะทำการเขียน Query และวาง Layout ของรายงานไว้ก่อนแล้ว แต่ส่วนใหญ่รายงานประเภทนี้ไม่เหมาะสำหรับผู้วิเคราะห์ ซึ่งมักจะมีคำถามเกิดขึ้นโดยทันทีที่เห็นรายงาน ซึ่งถ้าเป็นระบบ Report Writer ตามปกติก็ต้องเรียก IT เข้ามาเพื่อขอรายงานเพิ่มเติม
แต่สำหรับระบบรายงานที่รองรับ Adhoc Query นั้น คำว่า Adhoc แปลว่าโดยทันทีทันใด เพราะฉะนั้นความหมายตรง ๆ ก็คือระบบที่ทำให้ผู้ใช้งานซึ่งเป็นผู้วิเคราะห์สามารถสืบค้นข้อมูลได้โดยทันที ไม่ต้องเรียก IT มาจัดทำให้ ตัวอย่างเช่น อยากดูข้อมูลเพิ่มเติม อยากเปลี่ยนมุมมองของรายงาน อยากใส่เงื่อนไขต่าง ๆ ส่วนใหญ่แล้วระบบพวกนี้จะซ่อนความยากของการเขียน Query เอาไว้ เมื่อผู้ใช้อยากได้อย่างไรมันจะ generate query ไปยังฐานข้อมูลให้โดยอัตโนมัติ ถ้าอยากดูความแตกต่างของรายงานทั่วไป ลองเล่น Oracle Discoverer จะเห็นภาพชัดขึ้นนะครับ