วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553

หลักการสำคัญในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ...โดยกลุ่ม6

หลักการสำคัญในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

I. หลักการไม่เลือกปฏิบัติ

(Non-Discrimination Principles)

การไม่เลือกปฏิบัติเป็นหลักการสำคัญหนึ่งของแกตต์ (GATT) และองค์การการค้าโลก หลักการนี้ประกอบด้วย 2 หลักการสำคัญ คือการปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most-favoured-nation

Treatment: MFN) และการปฏิบัติเยี่ยงชาติ (National Treatment)

1. การปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (The Most-Favoured-Nation Treatment: MFN)

หลักการปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (MFN) หมายถึง การที่ประเทศคู่สัญญา เมื่อได้ให้สิทธิประโยชน์อย่างดีที่สุดแก่ ประเทศหนึ่งประเทศใด ก็ต้องให้สิทธิประโยชน์เช่นว่านั้นแก่ทุกประเทศที่เป็นคู่สัญญาอื่นด้วย การทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ โดยทั่วไปมักนำหลักการ MFN มาเป็นหลักการพื้นฐานในสนธิสัญญา เช่น สนธิสัญญาระหว่างสหรัฐอเมริกากับฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 18 (Jackson, 1997: 158) และสนธิสัญญาบาวริงระหว่างอังกฤษกับสยามในปี 2398

ความตกลงแกตต์ก็เป็นหนึ่งในสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่นำหลักการ MFN มาบัญญัติไว้เป็นหลักการพื้นฐาน การนำหลักการ MFN มาบัญญัติไว้เป็นหลักการพื้นฐานนี้มีเหตุผลสนับสนุนทั้งด้านเศรษฐศาสตร์และด้านการเมือง (Jackson, 1997:158-160)

เหตุผลสนับสนุนทางด้านเศรษฐศาสตร์ คือ การนำหลักการ MFN มาใช้ในแกตต์ทำให้กลไกตลาดถูกบิดเบือนลดลง กล่าวคือ เมื่อภาคีสมาชิกใช้มาตรการการส่งออกหรือการนำเข้าสินค้า โดยไม่คำนึงว่าสินค้านั้นส่งออกหรือนำเข้าจากประเทศใดแล้ว ระบบตลาดจะทำงานได้ดีขึ้น และการค้าเสรีจะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เมื่อภาคีสมาชิกให้สิทธิประโยชน์แก่สินค้าใด ก็ต้องขยายการให้สิทธิประโยชน์เหล่านั้นแก่สินค้าที่เหมือนกันแก่ทุกประเทศภาคีแล้ว ต้นทุนธุรกรรม (Transaction Cost) จะลดลง กล่าวคือ เมื่อภาคีสมาชิกได้ให้สิทธิประโยชน์แก่สินค้าของภาคีสมาชิกอื่นทุกประเทศเจ้าหน้าที่ศุลกากรก็ไม่จำเป็นต้องตรวจสอบว่า สินค้ามีถิ่นกำเนิดจากประเทศใด การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ก็เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว

เหตุผลสนับสนุนทางด้านการเมือง คือ การนำหลักการ MFN มาใช้ในแกตต์ช่วยลดความตึงเครียดในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวคือ เมื่อภาคีสมาชิกให้สิทธิประโยชน์แก่สินค้าของภาคีสมาชิกหนึ่งแต่ไม่ให้สิทธิประโยชน์หรือให้สิทธิประโยชน์นั้นแก่สินค้าของอีกภาคีสมาชิกหนึ่งน้อยกว่าก็จะทำการเจรจาการค้าระหว่างประเทศมีความตึงเครียดเพิ่มมากขึ้น

2. การปฏิบัติเยี่ยงชาติ (National Treatment)

หนึ่งหลักการปฏิบัติเยี่ยงชาติเป็นการปฏิบัติต่อผลิตภัณฑ์นำเข้าไม่ด้อยกว่าการปฏิบัติต่อผลิตภัณฑ์ภายในประเทศที่เหมือนกัน

ทางปฏิบัติของหลัก MFN คือมีการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีศุลกากร (non-taiff barriers) ต่อสินค้านำเข้า ทำให้สินค้านำเข้าเสียเปรียบสินค้าที่ผลิตภายในประเทศจึงเรียกร้องให้ต้องปฏิบัติต่อสินค้าที่นำเข้าในมาตรฐานเดียวกันกับสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ

II. หลักการต่างตอบแทน Reciprocity

หลักการต่างตอบแทน (Reciprocity) เป็นหลักการที่สำคัญอีกประการหนึ่งของความตกลงภายใต้ GATT และองค์การการค้าโลก หลักการต่างตอบแทนกำหนดให้เมื่อประเทศหนึ่งให้ประโยชน์แก่อีกประเทศหนึ่ง ประเทศที่ได้รับจะเสนอประโยชน์ในลักษณะที่คล้ายคลึงกันและใกล้เคียงกันเป็นการตอบแทน

หลักการต่างตอบแทนช่วยทำให้หลักการปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (MFN) มีบทบาทที่เป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น กล่าวคือเมื่อประเทศภาคีเจรจาแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่างกันตามหลักการต่างตอบแทนแล้ว ผลประโยชน์ที่แลกเปลี่ยนกันนี้จะตกไปยังประเทศภาคีอื่นที่ไม่ได้ร่วมเจรจาด้วย ตามหลักการปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง และเชื่อกันว่า หลักการต่างตอบแทนสร้างความเป็นธรรมในการเจรจาการค้า เพราะไม่ควรมีประเทศใดที่เป็นผู้ให้ฝ่ายเดียวโดยไม่มีการตอบแทน นักเจรจาการค้าเห็นว่า หลักการต่างตอบแทนหมายถึงการได้รับผลประโยชน์ร่วมกันอย่างเท่าเทียมกันหรือในภาษาละตินเรียกว่า Quid Pro Quo (ทัชชมัย ฤกษะสุต 2546:42)

หลักการต่างตอบแทนและหลักการปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่งจะทำให้ทุกประเทศได้รับสิทธิประโยชน์จากการเจรจามากที่สุดและเป็นธรรมมากที่สุด(สุรเกียรติ เสถียรไทย 2531:51)

เนื่องจากหลักการต่างตอบแทนเป็นสรณะในการเจรจาการค้าทำให้มีความพยายามพัฒนาดัชนีเพื่อวัดมูลค่าของข้อลดหย่อนระหว่างกันแต่การวัดมูลค่าข้อลดหย่อนระหว่างกันนี้มีปัญหา 2 ประการ คือ ปัญหาทางทฤษฎี และปัญหาทางปฏิบัติ

ปัญหาทางทฤษฎีมีข้อวิจารณ์อย่างน้อย 3 ประการคือ

(1) หลักการต่างตอบแทนทำให้ประเทศที่มีภาษีศุลกากรในอัตราที่ต่ำเสียเปรียบในการเจรจา

(2) ประเทศพัฒนาน้อยที่สุดเห็นว่า หลักการต่างตอบแทนสร้างความไม่เป็นธรรมในการเจรจาการค้า เนื่องจากประเทศพัฒนาน้อยที่สุดต้องการคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศบางประเทศเพื่อการพัฒนา และ

(3) ไม่มีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมในการประเมินว่าอย่างไรเป็นการต่างตอบแทนและได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน

สำหรับปัญหาในทางปฏิบัตินั้นเป็นปัญหาเกี่ยวกับข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนอัตราภาษีศุลกากรของแต่ละประเทศ (Jackson1969:241-243)



รูปแบบของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจมีได้หลายรูปแบบและมีวิวัฒนาการแตกต่างกันโดยแต่ละรูปแบบจะมีความเข้มข้นของความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันแตกต่างกันไป

1. ข้อตกลงการให้สิทธิพิเศษทางศุลกากร (Preferential Tariff Agreement) เป็นข้อตกลงเพื่อลดภาษีให้แก่กันและกัน โดยอัตราภาษีที่เรียกเก็บจะน้อยกว่าอัตราภาษีที่เรียกเก็บจากประเทศที่สาม เช่น การรวมตัวกันของกลุ่ม LAIA (Latin American Integration Association), ASEAN และ Trade Expansion and Cooperation Agreement เป็นต้น

2. สหภาพศุลกากรบางส่วน (Partial Customs Union) การรวมตัวทางเศรษฐกิจในรูปแบบนี้ประเทศที่ทำข้อตกลงกันยังคงอัตราภาษีไว้ในระดับเดิม แต่มีการกำหนดอัตราภาษีศุลกากรในการค้ากับประเทศภายนอกกลุ่มร่วมกัน (Common external tariff)

3. เขตการค้าเสรี (Free Trade Areas) ในเขตการค้าเสรี การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศภาคีสามารถทำได้อย่างเสรีปราศจากข้อกีดกันทางการค้า ทั้งมาตรการทางภาษี และมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี ในขณะเดียวกัน แต่ละประเทศสมาชิกยังคงสามารถดำเนินนโยบายกีดกันทางการค้ากับประเทศนอกกลุ่มได้อย่างอิสระ เช่น การรวมตัวกันของกลุ่ม EFTA, NAFTA และ CER เป็นต้น

4. สหภาพศุลกากร (Customs Union) เป็นรูปแบบของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่มีระดับความเข้มข้นสูงขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง โดยการรวมกลุ่มในลักษณะนี้นอกจากจะขจัดข้อกีดกันทางการค้าออกไปแล้ว ยังมีการกำหนดพิกัดอัตราภาษีศุลกากรในการค้ากับประเทศภายนอกกลุ่มร่วมกัน และให้มีอัตราเดียวกันด้วย (Common external tariff) เช่น การรวมตัวกันของกลุ่ม MERCOSUR, Equatorial Customs Union and Cameroon และ African Common Market เป็นตัน

5. ตลาดร่วม (Common Market) รูปแบบของการรวมกลุ่มประเภทนี้นอกจากจะมีลักษณะเหมือนกับสหภาพศุลกากรแล้ว การเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิต (แรงงาน ทุน และเทคโนโลยี) สามารถทำได้อย่างเสรี เช่น การรวมตัวกันของกลุ่ม EU ก่อนปี 1992

6. สหภาพทางเศรษฐกิจ (Economic Union) นอกจากจะมีการค้าเสรี การเคลื่อนย้าย ปัจจัยการผลิตอย่างเสรี และนโยบายการค้าร่วมแล้ว ยังมีการประสานความร่วมมือกันในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ ทั้งนโยบายการเงิน และการคลังอีกด้วย เช่น การรวมตัวของกลุ่ม EU ในปัจจุบัน

7. สหภาพทางเศรษฐกิจแบบสมบูรณ์ (Total Economic Union) เป็นการรวมตัวทางเศรษฐกิจที่มีความเข้มข้นมากที่สุด จะมีการจัดตั้งรัฐบาลเหนือชาติ (Supranational government) และมีนโยบายทางเศรษฐกิจเดียวกัน





เหตุผลของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจมีจำนวนเพิ่มขึ้นมาจากสาเหตุหลายประการ เช่น ความล่าช้าในการเจรจาในรอบอุรุกวัย ซึ่งทำให้ประเทศต่าง ๆ เกรงถึงการล่มสลายของการเจรจา และทำให้เกิดการรวมตัวเป็นกลุ่มเศรษฐกิจกันมากขึ้น และรวมถึงการขยายขนาดของกลุ่มเศรษฐกิจที่มีอยู่แล้วเดิม โดยการรับสมาชิกเพิ่มเติม อีกเหตุผลหนึ่งของการเพิ่มขึ้นของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ คือ การมีวิวัฒนาการของการก่อตัวของเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือจากเดิมเป็นลักษณะทวิภาคีระหว่างสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เป็น NAFTA ซึ่งรวมเม็กซิโกไว้ด้วยในปี 1994 ในขณะที่กลุ่มสหภาพยุโรปเริ่มมีการปรับรับสมาชิกเพิ่มเติม และพัฒนาก้าวสู่ความเป็นยุโรปตลาดเดียว พัฒนาการจากทั้งสองกลุ่มเศรษฐกิจใหญ่กระตุ้นให้โดยเฉพาะประเทศเล็กที่กำลังพัฒนาก่อตัวเป็นกลุ่มเศรษฐกิจมากขึ้น นอกจากนั้น นานาประเทศตระหนักว่าการที่มีตลาดใหญ่ การร่วมใช้ทรัพยากร การแบ่งงานกันทำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะประเทศที่อยู่ในอาณาบริเวณใกล้เคียงกันจะนำไปสู่พัฒนาการทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและสามารถแข่งขันกับตลาดใหญ่ๆ ได้

กลุ่มเศรษฐกิจที่สำคัญในภูมิภาคต่างๆ ของโลก มีดังนี้
1. สหภาพยุโรป EU

2. เขตการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกา FTAA

3. เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ NAFTA

4. กลุ่มตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง MERCOSUR

5. กลุ่มประชาคมแอนเดียน Andean Community

6. ประชาคมเพื่อการพัฒนาแอฟริกาตอนใต้ SADC

7. สมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ASEAN



ผลที่เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มทางการค้า

การสร้างการค้า (Trade Creation) เกิดขึ้นเมื่อประเทศสมาชิกของความตกลง (ประเทศ A) เพิ่มการนำเข้าจากประเทศคู่ค้า (ประเทศ B) โดยมิได้ลดการนำเข้าจากประเทศอื่นๆ (Rest of the World : ROW) เนื่องจากการลดภาษีสินค้านำเข้าระหว่างประเทศคู่ค้าทำให้สินค้าที่นำเข้าจากประเทศ B มีราคาต่ำลง การเพิ่มการนำเข้าเป็นผลจากการเพิ่มการบริโภคและการลดการผลิตในประเทศ A การสร้างการค้าจึงถือเป็นผลประโยชน์ (Benefit) ที่เกิดกับประเทศสมาชิกและกับโลกโดยรวม

การเบี่ยงเบนทางการค้า (Trade Diversion) เกิดขึ้นเมื่อประเทศสมาชิก (ประเทศ A ) นำเข้าสินค้าจากประเทศคู่ค้า (ประเทศ B) ที่ราคาสินค้าต่ำกว่าราคาสินค้านำเข้าจากประเทศอื่นๆ ( ROW) ทั้งที่ประเทศ B ไม่ได้มีต้นทุนที่ต่ำกว่าอย่างแท้จริง แต่ราคาสินค้าต่ำกว่าประเทศอื่นๆ เนื่องจากประเทศ B ได้รับการลดภาษีจากการทำความตกลงการค้าเสรี ดังนั้นการที่ประเทศ A ลดการนำเข้าสินค้าจากประเทศอื่นๆ ลงและเพิ่มการนำเข้าจากประเทศ B ทดแทนถือว่าเป็นการเบี่ยงเบนทางการค้า ซึ่งถือว่าเป็นผลเสีย (loss)

การบ่ายเบนทางการค้า (Trade Deflection) หมายถึงการสวมสิทธิ์ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรจากประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกความตกลง การที่ประเทศสมาชิกมีอิสระในการดำเนินนโยบายภาษีนำเข้ากับประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิก อาจนำไปสู่ปัญหาการลักลอบนำเข้าสินค้าจากประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิก มายังประเทศสมาชิกที่มีภาษีนำเข้าต่ำกว่า และส่งต่อไปยังประเทศสมาชิกอื่นๆ

International Finance โดยกลุ่ม 5

สรุปทวิทเตอร์หัวข้อ International Financeวันที่ 17 ก.ค. 2553
เหตุผลในการเข้าสู่ธุรกิจก็ด้วยมีความได้เปรียบในการแข่งขัน ในการทำธุรกิจเราต้องการให้ธุรกิจดำเนินอยู่ได้
ยั่งยืน เมื่อเราผลิตสินค้าสู่ตลาดระดับต่างประเทศ(Global Consume)ถ้าเราเป็น Niche Market เราก็เจาะมุ่งสนใจไปที่
ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย โดยเลือกทำในธุรกิจที่เรามีความถนัดมากที่สุด ทำธุรกิจต้องยอมรับว่าเราexposeต่อความเสี่ยงของ
ความไม่แน่นอนของธุรกิจ ความเสี่ยงทางการเงิน ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก (สิ่งแวดล้อม สังคม ธุรกิจ การเมืองใน
ประเทศ)ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเมื่อเราทำธุรกิจต่างประเทศMultinational Business, Global Business ก็ดีก็คือเรา
exposure ต่อความเสี่ยงในเรื่องอัตราการแลกเปลี่ยน (Rate of Exchange) ปัจจุบันประเทศต่างๆไม่ค่อยมีมาตรการกีด
กันทางการค้าแล้วเป็น FTA (Free Trade Area) เนื่องจากถ้ามีอยู่เราจะถูกแซงชั่นจากประเทศต่างๆทันที การทำธุรกิจ
ต้องเข้าใจในเรื่อง Overview of Business, Logistic Management, Cross Cultural ต้องเข้าไปเรียนรู้วัฒนธรรมข้าม
ชาติของประเทศนั้นๆ เช่น ชอบอะไร สีอะไร เพื่อประโยชน์ในการวางกลยุทธ์ธุรกิจและวางแผนการตลาด ต้องรู้กลไกใน
การทำธุรกิจต่างประเทศ จะเลือกเข้าไปประเทศไหนก็ต้องทำ SWOT ว่าประเทศไหนน่าสนใจมีศักยภาพต่อไปในอนาคต
ปัจจุบันได้แก่กลุ่มประเทศ BRIC (Brazil, Russia, India, China) แล้วดูว่าเราจะเข้าไปแบบไหน ธุรกิจในแบบที่เรา
สามารถเข้าไปทำได้ง่ายที่สุดคือการส่งออก (Export) ส่วนระดับที่ทำยากที่สุดคือทำแบบเป็นเจ้าของทุนทั้งหมด (Wholly
owned company)เราพูดถึงทุกสิ่งจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยเรื่องเงินข้อได้เปรียบ Comparative Advantage, Money of
Scale
ถ้าประเทศต่างๆ ต้องการเพิ่ม GDP ของตัวเอง จะไม่สามารถค้าขายกันเองแต่เพียงอย่างเดียวได้ ในเมื่อ
Consumption การใช้จ่ายในประเทศมีน้อยไม่เพียงพอ, Investments ภาวการณ์ลงทุนไม่แน่นอน การลงทุนของ
ต่างชาติทำได้ยากแบบทุกวันนี้ เพราะมีความเสี่ยง ประกันภัยไม่ครอบคลุมภัยการจารจน แต่ถ้าเป็นการลอบวางเพลิง
บริษัทประกันจะจ่ายเงินชดเชย...ถ้าแต่ละประเทศพยายามที่จะเปิดเสรีในการลงทุน ก็จะมีการรวมกลุ่มในรูปแบบการ
ลงทุนทางการเงิน เช่น Euro Zone สิบกว่าประเทศรวมกันเช่น เยอรมัน(ใช้ดอยช์มาร์ค), ฝรั่งเศส(ฟรังซ์), สวิส(สวิสฟรังค์)
มาเป็นใช้เงินยูโรดอลล่าร์ แต่อังกฤษ(ปอนด์)เงินแข็งกว่าเค้าก็ไม่รวมด้วย ฉะนั้นประเทศที่มีเงินสกุลที่ไม่แข็งแรงประเทศมี
ขนาดเล็ก เช่น กรีก ฮังการี ก็จะต้องไปก่อหนี้ กู้เงินประเทศที่แข็งแรงกว่ามาเป็นเงินสำรอง เพื่อที่จะเอาเงินของตนเองไป
อยู่กับประเทศอื่นเพื่อให้เกิดการยอมรับ ในการทำการค้ากับต่างประเทศที่สกุลเงินไม่เป็นที่ยอมรับ ในอดีตต้องแลกเอาเป็น
สินค้ากลับคืนมา เช่นแลกเอารัมมาจากรัสเซีย ..ปัจจุบัน โดยเฉพาะประเทศเกิดใหม่บางประเทศ เค้าไม่ยอมให้เอาเงินออก
นอกประเทศ ต้องระวังให้ดี เช่น จีน พม่า(จ๊าก) เราต้องนำเงินที่ได้มาจากการทำการค้าไปลงทุนในประเทศเค้าแทน
ประเทศนั้นก็จะพัฒนาเจริญขึ้นฉะนั้นเวลาเราเลือกตลาด ต้องดูเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนทางการเงินด้วยว่า สกุลเงินควรต้อง
เป็นที่ยอมรับมากน้อยอย่างไร(22:08)
ทำไม...ต้องแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ?...เพราะ เงินเป็นสื่อกลางของการแลกเปลี่ยนแต่การยอมรับสกุลเงิน
ของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน สมัยก่อนเรานิยมใช้ดอลล่าร์สหรัฐเพราะเป็นประเทศมหาอำนาจชนะสงคราม เป็น
ประเทศที่แสวงหาอำนาจทางเศรษฐกิจในทุกๆรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการลงทุน มีทั้งการนำเข้าและส่งออก ปกติใน
สูตร GDP=
2
การพิมพ์ธนบัตรต้องจะdeclare เงินสำรองให้ world bank ทราบก่อนแต่สหรัฐไม่ใช้เงินสำรองในการพิมพ์แบงค์เหมือน
ประเทศอื่นและขณะนี้ไม่รู้ว่าตนพิมพ์ธนบัตรออกไปปริมาณเท่าไร มีการได้เปรียบกันเกิดขึ้น ในการทำการค้าก็ขึ้นอยู่กับว่า
อำนาจการต่อรองเป็นของใคร เราต้องพึ่งพาใครมากกว่า เราก็ต้องใช้สกุลเงินที่เค้าต้องการ คนสหรัฐเองก็ไม่ได้กู้เงินใน
ประเทศตนเอง แต่มากู้เงินยูโรดอลล่าร์เพราะอัตราดอกเบี้ยถูกกว่า แล้วเอาไปลงทุนในประเทศถ้าราคาซื้อและราคาขาย
เงินมีความแตกต่างกันมี currency space เกิดขึ้น(ส่วนใหญ่มักจะซื้อถูก ขายแพง) มีความได้เปรียบและเสียเปรียบจาก
การแข็งหรืออ่อนตัวของค่าเงินในแต่ละประเทศ และมีผลกระทบต่อกำไรขาดทุนของธุรกิจนั่นเอง
การกู้ยืมเงิน...เมื่อประเทศไทยเปิดเสรีทางการเงินก่อนภาวะวิกฤต คือสมัยคุณธานินทร์มี BIBF ยอมให้กู้เงิน
ต่างประเทศมาปล่อยกู้ในประเทศ และขณะเดียวกันก็ยอมให้ต่างประเทศมากู้เงินแล้วผ่อนชำระ พอเอาเงินนี้มาใช้ใน
ประเทศก็ต้องเปลี่ยนสกุลเงินให้มาเป็นบาทไทย ก็ขึ้นอยู่กับ อัตราการแลกเปลี่ยน (Currency Rate) เมื่อมีการกู้ยืมก็ต้อง
คิดถึง อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate)มีการพูดถึงการป้องกันความเสี่ยงจากสภาวะเงินเฟ้อโดย Spot rate, Forward
rate ในการจ่ายคืนดอกเบี้ยในอนาคตสามสี่ปีข้างหน้า ถ้าภาวะเงินเฟ้อสูง อัตราการแลกเปลี่ยนจะอ่อนค่าลง
การลงทุนระหว่างประเทศ...เราต้องเปลี่ยนเงินบาทไปเป็นเงินที่ประเทศนั้นต้องการ หรือถ้าเปิดเสรี เราสามารถกู้
เงินในประเทศนั้น แล้วนำไปลงทุนได้การเปิดรับความเสี่ยงก็จะแตกต่างกัน ฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายสินค้าและบริการ
หรือการลงทุนระหว่างประเทศ ก็ต้องคำนึงถึงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งสิ้น
ผู้ที่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมีใครบ้าง
1. ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้นำเข้าและผู้ส่งออก
มีหน้าที่ กำหนดปริมาณเงินตราต่างประเทศที่เป็นกลไกที่จะสร้างความสมดุลของอัตราแลกเปลี่ยน เดิมทีเดียวไทยใช้
อัตราแลกเปลี่ยน Daily Fixing ซึ่งขึ้นอยู่กับเงินดอลล่าร์เป็นหลัก ถ้ามีการนำเข้าเงินดอลล่าร์สหรัฐเข้ามาในประเทศ
มากๆ ค่าเงินบาทของเราก็จะแข็ง แต่ถ้ามีการ import สินค้าเข้าเยอะๆ เงินดอลล่าร์ก็จะออกนอกประเทศไป เงินบาท
ก็จะอ่อนลง ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องควบคุมปริมาณการไหลของเงินเข้าออกให้พอดี
2. ธนาคารพาณิชย์ไทย ผู้กู้เงินและผู้ให้กู้เงิน
ระบบการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนของไทย
1. ระบบตะกร้าเงิน (Basket Currency)เขย่าเงิน (ปกติใช้เงิน5 ระบบหลัก ดอลล่าร์สหรัฐ เยน ยูโร ปอนด์ ฟรัง)
อัตราแลกเปลี่ยนจะแปรผันตามปริมาณ demand‐supplyของเงิน ปริมาณเงินที่ต้องการระหว่างปริมาณเงิน
เข้าประเทศของผู้กู้เงินกับปริมาณเงินออกของผู้ให้กู้เงินในแต่ละวัน
2. ระบบการแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ (Managed Float)ซึ่งใช้ในปัจจุบัน เจ้าหน้าที่รับผิดชอบธนาคาร
พาณิชย์ไทยจะดูภาพรวมของตลาดโลกร่วมกับการปล่อยค่าเงินตาม demand‐supply, แต่ตอนนี้จีน(หยวน)
อยากจะเข้ามามีบทบาททางการเงินมากขึ้น ซึ่งถ้าจีนต้องการเป็นผู้นำทางการเงิน จีนต้องเปลี่ยนจากการทำ
การค้าแบบ Economic of Scale ไปเข้าสู่การค้าแบบ Creative Economy
3
3. ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ นายหน้า
กระทรวงการต่างประเทศในประเทศนั้นๆเป็นตัวแทนของประเทศในการทำข้อตกลงทางการค้ากับตัวแทนประเทศ
ต่างๆ เช่นกระทรวงเกษตร กระทรวงพาณิชย์ในประเทศนั้นๆในเรื่องของคุณสมบัติสินค้าประเภทต่างๆที่จะสามารถ
นำเข้าไปขายได้ เป็นการตกลงกับตัวแทนdistribute agent ว่าด้วยปริมาณลักษณะสินค้าล็อดใหญ่ๆ แต่
ผู้ประกอบการแท้จริงของไทยคือทางกระทรวงพาณิชย์ ถ้ามีการตกลงเปลี่ยนข้อสัญญาว่าด้วยรายละเอียดของความ
ต้องการกันแล้วแต่ส่งต่อกันช้าหลายวัน สินค้าที่ส่งไปแล้วก็อาจค้างเข้าประเทศนั้นๆไม่ได้ เป็นต้น การเปิดเสรีทางการ
ค้า FTA เป็นการเสรีจริงหรือไม่....การทำ FTA ระหว่างไทย-จีน ทำกับไทยแล้วสามารถนำสินค้าไปขายได้ทั่วทุกจังหวัด
แต่กับประเทศจีนไม่ใช่ อาจเข้าไปได้เพียงบางมณฑล ไม่ทั่ว ต้องทำผ่านกับแต่ละมณฑลด้วย, การที่ต้องทำ ISO กับ
บางประเทศก็คือการที่ต้องเสียค่า Know‐how ที่มาพัฒนาให้แล้วยังต้องเสียค่าธรรมเนียมรายปีที่ยิ่งกว่าภาษีต่ออีก
4. นักท่องเที่ยว
ระบบอัตราแลกเปลี่ยน แบ่งเป็น 2 ระบบคือ
1. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Exchange Rate)
• อิงกับทองคำ และหรือสกุลเงินหลัก เนื่องจากทองเป็นวัตถุมีค่า หายาก
• อิงกับสกุลเงินเดียวเช่นอิงกับ US$ ในสมัยก่อน
• อิงกับสกุลเงินหลายสกุล เช่นในระบบ Leasing
2. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (Floating Exchange Rate)
1. Managed Float System ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบกึ่งลอยตัว (Dirty Float)
ธปท.ยังคงมีบทบาทในการกำหนด ระดับ และทิศทางการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนในท้องตลาดเงินโดยคำนึงถึง
1. ฐานะดุลการค้า-ปริมาณดุลของการนำเข้า-ส่งออก
2. ดุลการชำระเงิน รัฐจะพยายามให้เกิดภาวะเกินดุลอยู่เสมอ โดยการออกขาย
พันธบัตรรัฐบาลเพื่อดึงเงินเข้าสู่กองคลัง
3. ปริมาณเงินสำรอง
4. ภาวะตลาด เนื่องจากประเทศไทยยังต้องพึ่งพาการส่งออกค่อนข้างเยอะ ขณะนี้
ภาวะตลาดการส่งออกดีขึ้น แต่ตลาดบริการแย่ลง
2. Fully Float Systemระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวแท้จริง
การเพิ่มค่า/การลดค่าเงิน
1. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นอยู่กับเงินสกุลเดียวเช่น USD ฉะนั้นถ้ามีการนำเข้ามาก กว่าส่งออก ความ
ต้องการเงินเพิ่มขึ้นเพื่อไปจ่ายค่าสินค้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภททุน ปริมาณมากมูลค่าน้อย แต่
เวลาไทยส่งสินค้าออก ส่วนใหญ่สินค้ามูลค่ามาก ฉะนั้นค่าเงินจึงแปรผันตามความต้องการสกุลเดียว
4
i. Revalue/Revaluation มูลค่าเงินเพิ่ม
ii. Devalue/Devaluation มูลค่าเงินลด
2. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว แปรผันตามปริมาณสกุลเงินในตะกร้าที่มีเงินหลายสกุล เงินแต่
ละสกุลไม่ได้ขึ้นลงในทิศทางเดียวกันจะคงที่ขึ้นหรือลดขึ้นอยู่กับปริมาณความต้องการ ถ้าคนต้องการ
เงินยูโรมากกว่ายูเอส มูลค่าเงินยูโรจะสูงกว่าเงินยูเอสหรือเป็นไปในทางกลับกัน ถ้าปริมาณความ
ต้องการเปลี่ยน
i. Appreciate/Appreciation การเพิ่มค่าของเงิน
ii. Depreciate/Depreciation การลดค่าของเงิน
ตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศ จะซื้อขายต่อเนื่องกันตลอด 24 ชม. เริ่มจากตลาดซิดนีย์ก่อน มาโตเกียว
ฮ่องกง สิงค์โปร์ มาเลเซีย แฟรงค์เฟิร์ท ลอนดอน นิวยอร์ค ชิคาโก ซานฟรานซิสโก ตลาดจะไม่มีสถานที่ทำการอย่างเป็น
รูปธรรม ไม่มีกฎเกณฑ์ กติกา เนื่องจากเป็นการซื้อขายผ่านระบบอิเลคโทรนิคทั่วโลก โดยคู่สัญญา 2 ฝ่าย ตลาดที่มีส่วน
แบ่งใหญ่สูงสุดของปริมาณการซื้อขายเงินตราต่างประเทศตามลำดับ ได้แก่
1. ตลาดลอนดอน
2. นิวยอร์ก
3. โตเกียว เป็นศูนย์กลางอิเลคโทรนิค
4. สิงคโปร์ เป็นศูนย์กลาง trading ของเอเชีย
อัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange Rate)หมายถึง ราคาเงินตราสกุลหนึ่ง ในรูปเงินตราอีกสกุลหนึ่ง หรือเงินตราสกุล
หนึ่งที่มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยของเงินตราอีกสกุลหนึ่ง เช่น 42.00 Baht เท่ากับ 1 USD, 1.19 Yen เท่ากับ 1USD อาจ
เปรียบเทียบได้เหมือนกับสินค้าทั่วไป ถูกกำหนดโดย Market Demand and Market Supply
การซื้อขายเงินตราต่างประเทศ
(Term Currency เงินที่ใช้ตีราคา)DM 1.8125 = 1 USD (USD เป็นเงินที่สกุลที่ถูกตีราคา Commodity Currency)
ความหมายที่เกี่ยวข้อง -ถ้า Commodity Currency มีค่าเพิ่มขึ้น จำนวนหน่วยของ Term Currency จะเพิ่มตาม
-ถ้าCommodity Currency มีค่าลดลง จำนวนหน่วยของ Term Currency จะลดตาม
รูปแบบของการเสนออัตราแลกเปลี่ยน (Term Quotation)
1. American Term (Direct Quotation)ไทยใช้เทอมนี้เป็นหลัก
2. European Term (Indirect Quotation)
การคำนวณกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน
เป็นตลาดที่ทำการซื้อขาย Forex
5
ตย. ซื้อเงินดอลล่าร์สหรัฐ จำนวน 1 ล้านเหรียญที่ (Foreign Exchange Rate) FX rate: USD 1 = 25.0 Baht และขาย
ที่USD 1 = 50.0 Baht
กำไรเป็นบาท = เงินบาทจากการขาย – จากการซื้อ
= (1,000,000*50.0) – (1,000,000*25.0)= 1,000,000 (50.0‐25.0) = 25,000,000 THB
ตย.ซื้อเงินบาท จำนวน 1 ล้านบาท ที่FX rate: USD 1 = 50.0 Baht และขายที่USD 1 = 38.0 Baht
กำไรเป็นดอลล่ารสหรัฐ = เงินดอลล่าร์จากการขาย – จากการซื้อ
= (1,000,000/38.0)‐(1,000,000‐50.0) = USD 6,315.79
Bid‐Offer Spreadแสดงถึงช่วงอัตรากำไร ที่ Quoting bank ต้องการ โดยการรับซื้อเงิน (bid) ที่ราคาต่ำ และขายเงิน
(offer) ที่ราคาสูงกว่า เช่น ซื้อ (bid) THB 38.5/USD ขาย (offer) THB 38.6/USD spreadยิ่งห่างแบงค์ยิ่ง
ได้กำไรมาก
-ธนาคารที่มี spread แคบๆมักมีแนวโน้มที่จะมีปริมาณซื้อขาย(Tureover) มากกว่าธนาคารที่มี spread กว้าง ใน
ประเทศไทยจะไม่ค่อยเห็นความแตกต่างของ spread ในแต่ละธนาคาร แต่จะเห็นได้มากกว่าในประเทศที่พัฒนาแล้ว
บ้านเราอาจจะเห็น spread ได้จากการซื้อขายที่เปรียบเทียบระหว่างธนาคารกับตัวแทนการค้าเงินที่ไม่ใช่ธนาคารได้
-ส่วนใหญ่เงินที่มีเสถียรภาพมากๆดอลล่าร์สหรัฐหรือปอนด์จะมีช่วงห่างแคบ ส่วนเงินที่มีช่วงห่างกว้างกว่า ได้แก่ เงิน
หยวน และดอลล่าร์ฮ่องกง
-Spread ใช้เป็นดัชนีชี้วัดภาวการณ์ซื้อขายของ Forexโดยในภาวะตลาดปกติ spread จะแคบ ส่วนในภาวะตลาดผัน
ผวน (Demand‐Supply ผันผวน) spread จะกว้างขึ้น
แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการกำหนด Forward Rate
ส่วนต่างของ F/W rate กับ Spot rate จะสะท้อนถึงช่วงต่างระหว่าง อัตราดอกเบี้ยของเงินสองสกุล โดยแสดงดังนี้
‐Spot rate USD 1 = 38.5 THB
-อัตราดอกเบี้ย USD 90 วัน = 3.00% ต่อปี (1 ปี = 360 วัน)
-อัตราดอกเบี้ย THB 90 วัน = 8.25% ต่อปี (1 ปี = 360 วัน)
-ระยะเวลา 90 วัน (8 มีค– 8 มิย)
ก. ถ้านำเงินลงทุน USD 1.0 Mil. ไปลงทุน 90 วัน ณ อัตราดอกเบี้ย 3.0% ต่อปี ผลคือ
มูลค่าเมื่อถึงกำหนด = เงินต้น + ดอกเบี้ย
= 1,000,000 + (1,000,000*3.0*90/360)
6
= 1,000,000 + 7,500 = 1,007,500 USD
ข. ถ้านำเงินลงทุน THB 38.5 Mil. ไปลงทุน 90 วัน ณ อัตราดอกเบี้ย 8.25% ต่อปี ผลคือ
มูลค่าเมื่อถึงกำหนด = เงินต้น + ดอกเบี้ย
= 38,500,000 + (38,500,000*8.25*90/360)
= 38,500,000 + 794,062 = 39,294,062 THB
ค. Forward Rate คืออัตราที่คู่สัญญาตกลงกันในวันนี้ว่า จะทำการแลกเปลี่ยนเงิน ในวันที่ 8มิย นั่นคือ
-ในวันนี้ ทั้งคู่ยินดีแลก USD 1,000,000 = 38,500,000 THB
-อีก 90 วันทั้งคู่ยินดีแลก USD 1,007,500 = 39,294,062 THB
หรือ F/W rate (90วัน) USD 1 = 39,294,062/1,007,500 = 39.00 THB
ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
• Operating Exposure
• Transaction Exposure
• Accounting Exposure
Syndicate Loan
Basic Information:
Definition เป็นการกู้ยืมในโปรเจคใหญ่ๆ เงินเยอะๆ และมีเจ้าภาพหลายๆราย
Objective
• Big loanต้องการกู้ยืมเงินจำนวนมากๆ
• To refinance the foreign loanเมื่อเราลงทุนในต่างประเทศ และพบว่าอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศถูกกว่า
เราก็จะยุบหนี้ในประเทศที่ทำไว้ แล้วไปrefinance กู้เงินในต่างประเทศแทน
• To make connection with banks
• For Debt restructuringการปรับโครงสร้างหนี้ ย้ายเงินกู้จากแบงก์เก่า เพื่อไปเอาโปรโมชั่นใหม่กับอีกแบงก์
หนึ่งที่ทำให้เราเสียดอกเบี้ยที่ถูกกว่า ได้ภาวะต้นทุนทางการเงินต่ำกว่า
Structure: เป็นการกู้เงิน project เดียวแต่มีใช้เงินกู้จากหลายธนาคาร
• Arranging bankธนาคารที่เป็นตัวกลางในการ arrange
• Lead bankธนาคารที่ให้วงเงินยืมสูงที่สุด
• Participating banksธนาคารสมาชิกที่ให้เงินกู้ยืมร่วมด้วย
Pattern
7
• Domestic Syndicated Loanการกู้ยืม syndicate loan ในประเทศ
• International Syndicated Loanการกู้ยืม syndicate loan ในต่างประเทศ
Loan Sizeระดับร้อยล้าน พันล้านบาท
The people we have to deal with(ใครจะเป็นผู้ deal Syndicate Loan)จากภายใน Inside Company
• Shareholdersบรรดาผู้ถือหุ้น ต้องกระจายเป็นมหาชน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ต้องเป็นที่รู้จัก
• Board of directorกรรมการบริหารเป็นที่น่าเชื่อถือ?
• Managing director CEO, General Manager, Management Officers
• Finance & Accounting Manager CFO
• Marketing Manager
• Production Manager
• Operations Officer
Syndicate Loan Prepare Ourselves
• ต้องการเอาเงินไปทำอะไร
• สำรวจสินทรัพย์ของบริษัทว่ามีอะไรบ้าง
• สัดส่วนหนี้สิน leverage ratio ?
• ต้องการเงินกู้ยืมเป็นเท่าไร
• ใครจะเป็นทีมเจรจาต่อรองของบริษัท
• ธนาคารต้องการหลักฐานทางการเงินอะไรบ้างเช่น ISO, ใบรับรองการใช้แรงงาน,ใบสำรวจสิ่งแวดล้อม
• ประชุมฝ่ายการตลาด การผลิต และการบัญชี
• ประชุมกับ supplier เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ว่าเงินที่เราจะไปยืม เราสามารถหาสินค้า ผลิต และส่งมอบให้กับ
ลูกค้าได้จริง ทำให้แบงก์มีความมั่นใจในกระแสเงินสดรับ
• บริษัทต้องทำบัญชี Financial Projection อย่างน้อย 5 ปี
o Discounted Cash Flow (DCF) ประมาณการณ์กระแสเงินสดในอนาคต ซื่งต้องออกมาในรูปของ
มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV)อัตราผลตอบแทนการดำเนินการที่แท้จริง (IRR) ระยะเวลาคืนทุน (PB)
o Key Finance Ratio: EBITDA, ROI, ROA, D/E, Liquidity Ratio
• วิเคราะห์ความเสี่ยงทำ scenario ให้เห็นว่าถ้ายอดขายไม่เป็นไปอย่างที่ทำนายไว้ IRR จะต่ำกว่าต้นทุนที่ใช้กู้ยืม
ไหม ถ้าต่ำกว่าความเสี่ยงก็จะสูง ถ้า
• เตรียมเอกสารต่างๆที่จะนำไปเสนอ
• ประชุมพนักงานทั้งบริษัท เพื่อปรับปรุง Financial Projection และอาจต้องมีการเพิ่มเติมหลักฐานต่างที่สำคัญ
• ทำตารางเวลาเพื่อไปพบกับธนาคารต่างๆ นัดแบงก์เป้าหมายและบุคคลที่เราดีลด้วยในแบงก์นั้นๆ
• เซทกลยุทธ์ของการต่อรองกับสถาบันการเงิน ทำให้เค้ารู้จักเรามากที่สุด ต้องส่งเอกสารไปให้เค้าศึกษาโปรไฟล์
เราก่อนพบ เพื่อเป้าหมายลดต้นทุนทางการเงิน
เกล็ดเล็กๆน้อยๆในการเจรจาต่อรองกู้ยืมเงิน Syndicate Loan
8
พูดคุยทั่วไป นัดหมายเวลา ตรงเวลา ใน mind set ต้องในกลยุทธ์ของการเป็นผู้ให้และผู้รับ (Win‐win
strategy)เจรจายึดกรอบสัญญาที่เราต้องการ ข้อตกลง/สัญญา การกู้เงิน ทำลายกำแพงมิตรหรือศัตรู ให้เวลา เป็นผู้ฟังให้
มาก ยังไม่เซ็นสัญญาจนกว่าจะมั่นใจ ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ ต้องเปลี่ยนทีมไปเจรจา คนที่สามารถตัดสินใจควรต้องนั่ง
อยู่ในที่ประชุมด้วย อย่าหลุดออกจาก Key area: จำนวนเงินกู้ยืม, อัตราดอกเบี้ย ตายตัวหรือลอยตัว risk premium ที่
บวกเท่าไหร่ ยุติธรรมดีไหม, วิธีการจ่ายชำระและระยะเวลา เงื่อนไข, เพื่อเรากลับมาคิดวิธีการจัดสรรเงินของเรา ,
หลักประกันที่เค้าเลือกใช้ ,เหตุการณ์ที่ทำให้เราไม่สามารถจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยได้ EOD (Events of Defaults),
ค่าธรรมเนียมที่คิดเรา, วันจ่ายเงินดาวน์ (Drawdown Date), ควรคำนึงว่าทุกๆนาทีค่าของเงินสามารถเปลี่ยนแปลงได้
Syndicate Loan Working Togetherสิ่งที่เราจะต้องทำไปพร้อมๆกันกับ syndicate loan เสมอคือ
􀀹 Financial Projectionอย่างน้อยๆ 5 ปี
􀀹 Loan Agreement Contractข้อตกลงกู้ยืมการกู้เงิน
􀀹 Other Agreements: มีเอกสารบริษัทสนับสนุนเสมอ นั่นคือ
o Shareholder Support Agreement รายได้ ค/ช ลูกค้า
o Off‐take Agreement สัญญาการได้เปรียบเสียเปรียบกรณีถ้าไม่สามารถส่งเงินให้ได้
o Raw Material Supply Agreement ค/ช suppliers,ข้อตกลงการส่งสินค้าสม่ำเสมอ
􀀹 ค่าใช้จ่ายต่างๆที่เราถูกชาร์จ
1. Interest Rate อัตราดอกเบี้ย
2. Front‐End Fee ค่าธรรมเนียมติดต่อขอsyndicate loan
3. Arranging Fee ค่าธรรมเนียมบุคคลที่ติดต่อให้เราค่าตัวกลาง
4. Cancellation Feeค่าธรรมเนียมการยกเลิกสัญญา
5. Appraisal Fee ค่าธรรมเนียมในการประเมินหลักทรัพย์
6. Law Fee ค่าธรรมเนียมกฎหมาย
􀀹 ศึกษาช่วงเวลา เลือกสถานที่เซ็นสัญญา
􀀹 เลือกวิธีการรับชำระเงินกู้
􀀹 ใครจะต้องมีหน้าที่ในการเซนต์สัญญาตามเงื่อนไขของธนาคาร
􀀹 วิธีการชำระเงินคืน
􀀹 เอกสารที่ต้องยื่นต่อแบงก์
􀀹 ระบุผู้ที่ต้องติดต่อในการเจรจาต่อรองจากทั้งสองฝ่าย
Merger & Acquisition (M&A)การควบรวมกิจการ
เนื่องมาจากแนวโน้มของGlobalization, Integrated Capital Marketการแปรรูปของธุรกิจและกิจการ,
Privatization,การรวมต้วของEU,จากผลกระทบภาวะเศรษฐกิจตกต่ำEconomic Recessionที่ไล่มาจากอเมริกายุโรป
และอาจมาถึงเอเชียได้
Concept การควบรวมกิจการอาจในรูปของ
9
1. ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (Minority Stake) หรือ
2. เป็นเจ้าของ ทั้งหมด (Full Ownership)
โดยใช้เครื่องมือ
o พันธมิตรทางการค้า(Strategic Alliance)
o ข้อตกลงสัญญาในกลุ่มการควบรวมกิจการ(Gradual Commitment)
คำถามที่ต้องตอบตัวเองให้ได้
􀀹 การควบรวมกิจการทำให้ได้มูลค่ากิจการประสิทธิภาพประสิทธิผล (Cost-effective) เพิ่มขึ้นมากกว่าการพัฒนา
ภายในองค์กร จริงหรือไม่
􀀹 ต้องการความสามารถเชี่ยวชาญเพิ่มเติมในเรื่องใด และจะทำการผลิตอย่างไร
􀀹 ผลประโยชน์ที่จะได้รับในอนาคตข้างหน้าทำให้มูลค่าของกิจการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่
􀀹 สามารถพัฒนานโยบายธุรกิจร่วม (synergy) ระหว่างสองบริษัทได้หรือไม่
Business Combination Philosophies
1. The Portfolio Strategyกลยุทธ์ในการรวม portfolio
2. The Business Family Strategyกลยุทธ์ของธุรกิจเดิมแบบแฟมิลี่ เอื้ออำนวยประโยชน์ให้มากน้อยขนาดไหน
3. The Business Element Strategyกลยุทธ์ส่วนประกอบอื่นๆของธุรกิจมีผลต่อการขยายตัวธุรกิจอย่างไร
Structural Aspects of Mergers and Acquisition
1. Horizontal Combinations การขยายกิจการไปในแนวนอน
2. Vertical Combinations การขยายกิจการไปในแนวตั้ง
3. Concentric Combinations
4. Unrelated or Conglomerate Combinations การขยายตัวไปในธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องเช่น CP ไปผลิตอาหาร
สัตว์แล้วไปทำห้างสรรพสินค้าเพิ่มอีก
Type of Buyersประเภทของผู้ซื้อการควบรวมกิจการ
1. Domestic Strategy Buyerกลยุทธ์ผู้ซื้อภายในประเทศ มักจะเข้าไปลงทุนและดำเนินธุรกิจ (Real Investment)
2. Foreign Strategy Buyerกลยุทธ์ผู้ซื้อภายนอกประเทศ
3. Financial Buyer มักจะไปกว้านซื้อหุ้นในตลาดจนตัวได้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ก็จะควบรวมกิจการ
4. Distress Property Buyerเงื่อนไขการครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน อาคาร แตกต่างกันในแต่ละประเทศ ทำให้ต้นทุน
ค่อนข้างสูง ทำให้ต้องดูให้ดี
Valuation Philosophyแนวคิดของการประเมินมูลค่ากิจการที่เราจะไปควบรวม
1. Intrinsic Valueมูลค่าที่แท้จริงของกิจการราคาที่ผู้ซื้อเต็มใจจะซื้อ ผู้ขายเต็มใจจะขาย
2. Acquisition Valueมูลค่าของการควบรวมกิจการ ที่มีบริษัทหนึ่งได้เปรียบ บริษัทหนึ่งเสียเปรียบราคาที่ตกลงกัน
ในการควบรวมกิจการ
10
3. Liquidation Valueมูลค่าที่กิจการนั้นจะต้องเลิกกิจการไป แล้วเราเอาทรัพย์สินเค้ามา
4. Replacement Valueมูลค่าสินค้าทดแทนที่ตีราคาตามบัญชี net asset value
Valuation Methodologiesวิธีการตีราคา
1. DCF
2. P/E
3. Adjusted Book Valueการปรับมูลค่าตามบัญชี
1. Discounted Cash Flow Model (DCF-model)
Procedureต้องประเมินเงินเริ่มแรก, กระแสเงินสดที่เกิดขึ้นในอนาคต, อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ แล้วสะท้อนกลับมาเป็น
มูลค่าของกิจการที่เราจะทำการซื้อ
Investment Criteriaหลักเกณฑ์การลงทุนที่เราใช้ในการตัดสินใจ (different form the traditional meaning)
• NPVมูลค่าปัจจุบันสุทธิ: เป็นบวกก็ลงทุน, ถ้าติดลบก็ไม่ลงทุน
• IRRอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงของโครงการ มากกว่าอัตราผลตอบแทนที่ต้องการ เราก็ลงทุน, น้อยกว่าไม่ลงทุน
• PBระยะเวลาคืนทุน: ถ้าเร็วกว่าที่กำหนดไว้ก็ลงทุน ถ้าช้ากว่าก็ไม่ลงทุน
• PIดัชนีการทำกำไร: ว่าผลตอบแทนที่ได้มากกว่าเงินที่ลงทุนทุกๆหนึ่งบาทไหม ถ้ามากกว่าก็ลงทุนน้อยกว่าก็ไม่
เวลาประเมินกระแสเงินสดอนาคตต้องยึดหลักว่าธุรกิจจะต้องดำเนินต่อไปอีกกี่ปี (Value as Ongoing Concern) หลังจากนั้น
เมื่อสิ้นสุดโครงการ มูลค่า ณ วันสิ้นสุด (Finding a Terminal Value) ถ้าไม่ต้องการใช้เงินทุนหมุนเวียนต่อไปถ้าขายอุปกรณ์
เครื่องมือเครื่องจักรจะมีมูลค่าเท่าไร ตัวนี้คือกระแสเงินสด
Combining Forecasting Period and Terminal Value
• WACCเอามาลดค่ากระแสเงินสด ทำให้เรารู้ว่าโครงการนี้เราจะลงทุนหรือไม่ลงทุน
• Sensitivity Analysisประเมินโครงการภาวะเศรษฐกิจที่ดีที่สุด และที่แย่ที่สุดต้นทุนจะเพิ่มขึ้นเท่าไร ยอดขายลดลง
เท่าไหร่
• หรือในช่วงของการควบรวมกิจการ เงินทุนที่เราไปกู้ยืมมามีอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ต้นทุนเปลี่ยน WACC เปลี่ยน,
k เปลี่ยนเราจะยังลงทุนอยู่อีกหรือไม่
ฉะนั้นการควบรวมกิจการเป็นการรวมตัวของสองบริษัท หรือสององค์กร หรือมากกว่านั้นแล้ว เอาหุ้นมารวมกัน เวลา
ประเมินราคาหุ้นสามัญบริษัทใหม่ บริษัทใหญ่จะได้เปรียบ เช่น 2 หุ้นเดิมเท่ากับ 1 หุ้นใหม่ หรือบริษัทที่เสียเปรียบอาจจะ
เป็น 1 ต่อ 1 หรือ 5 หุ้นเดิมเท่ากับ 1 หุ้นใหม่ 100717_002(13.35)
คำถามที่จะต้องถามตัวเอง
-เมื่อไรที่ควรจะไปควบรวมกิจการเพราะถ้าเราไปควบรวมกับกิจการที่เค้าดีกว่าเราหุ้นเราก็จะแย่ลง แต่ถ้าไปควบรวมกับที่
เค้าแย่กว่าเรา ราคาหุ้นเราก็จะดีขึ้น
- Identify ตัว partner ให้เหมาะสม
11
- สิ่งสำคัญที่จะทำให้ประสบผลสำเร็จได้ คือ ผลประโยชน์ในการควบรวมกิจการต้องทำให้ทั้งสองฝ่ายพึงพอใจทั้งคู่
หุ้นส่วนทั้งสองต้องตกลงกันให้ดีว่าใครจะรับผิดชอบในเรื่องใด
- บริษัททั้งสองต้องตกลงกันให้ดีว่าใครจะรับผิดชอบในเรื่องใดหลังจากการควบรวมกิจการ
What’s the right time to merge?
• The Company’s Mission
• Industry Analysisดูแนวโน้มของการเจริญเติบโตดูว่าธุรกิจใดเหมาะสมกับช่วงเศรษฐกิจแบบนี้ เมื่อเศรษฐกิจ
ตกต่ำธุรกิจใดตกต่ำไปด้วย, หรือธุรกิจไหน against เศรษฐกิจเช่น มาม่า
• SWOT Analysisดูปัจจัยภายนอก จุดแข็งจุดอ่อนของบริษัท
• The Firm’s Strategic Plan วิเคราะห์ปัจจัยภายในก็จะดูแผนกลยุทธ์การวางแผนธุรกิจนั้น ดูว่าสอดคล้องกับเราได้
หรือไม่
• Product Diversificationดูแนวโน้มของการขยายตัวของผลิตภัณฑ์
• Cost Reductionดูว่าเค้าสามารถลดต้นทุนได้ไหม
• Geographic Expansionมีความสามารถในการขยายตลาดไหม
• Expertiseเค้ามีความเชี่ยวชาญอย่างไร การที่สองธุรกิจจะมารวมกันเป็นอีกบริษัทหนึ่งและทั้งคู่ยังอยู่ทั้งคู่ จะต้อง
ได้รับผลประโยชน์เพิ่มมากขึ้น เอาความเชี่ยวชาญมาเสริมกัน ไม่ใช่เชี่ยวชาญในเรื่องเดียวกันแต่อ่อนในเรื่อง
เดียวกันการควบรวมแบบนี้ก็จะไม่เกิดประโยชน์
การทำการควบรวมกิจการให้ประสบผลสำเร็จ เราจะต้อง
1. Employee Communicationให้พนักงานทั้งสององค์กรสื่อสารอบรมร่วมกัน เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ มี
ทัศนคติที่ดีต่อการควบรวมกิจการเพื่อไม่ต้องการสูญเสียคนงานที่ดีๆไป
2. Shareholder Communicationสร้างข้อมูลให้ผู้ถือหุ้นเข้าใจ ว่าทำไมต้องไปควบรวม
3. Press Communication/ Press Releasesต่างชาติ ต้องแจ้งข้อมูลข่าวสารให้ทราบ สร้างภาพพจน์ที่ดีของธุรกิจ
4. Professional Market Analyst Briefingกิจการ ต้องวิเคราะห์ตลาดแบบมืออาชีพ
How do you approach consolidating the two firms?การทำให้กิจการรวมกันมั่นคง
1. Decision Concerning Practices and Proceduresการตัดสินใจในการปฏิบัติ
a. Transition Team
b. Quality Controlคุณภาพการควบคุม
2. Operational Systemsระบบการบริหารจัดการ
a. Absorptionจะรวมระบบ
b. Separate Systemsแยกระบบบริหาร
c. Best Practicesดูว่าอะไรทำได้ดีที่สุด
3. Building Working Relationships *********☺********
a. Stay Bonus ผลประโยชน์ต้องยังคงได้เหมือนเดิม
12
b. Incentive Pool ให้สวัสดิการต่างๆเพิ่มขึ้น
The Decision to Sell the Company: การตัดสินขายบริษัทการจะไปซื้อบริษัทใดๆกิจการนั้นก็จะหายไปเลิกไป เราต้องดู
• Mission, Objective, Industry Analysis, and Strategic Planถ้า business life cycle เป็นช่วงผกหัวลงแสดงว่าไป
กิจการกำลังจะไปไม่ได้แล้ว
• The Original and Impact of the Offerดูว่าเราจะไปเสนออะไรกับเค้า
• Evaluating the Offerข้อเสนอในการประเมินซื้อกิจการ
• Attractiveness of the Offer
Acquisitions: การควบรวมกิจการ
ส่วนใหญ่เวลาที่บริษัทใดเปลี่ยนแปลง ส่วนใหญ่บริษัทที่ใหญ่กว่าจะเข้าไป takeover บริษัทที่เล็กกว่า และ consolidate สอง
บริษัทให้เป็นบริษัทเดียวเช่น การควบรวมกิจการเช่าซื้อรถยนต์บริษัทศรีสวัสดิ์เงินติดล้อ ของบริษัท AIG
ขั้นตอนในการ Acquisitions
1. Assembling the right acquisition teamทีมองค์ประกอบของการควบรวมกิจการเพื่อให้อยู่ใน target ที่เหมาะสม
a. Legal Expertsนักกฎหมาย
b. Tax Expertsนักภาษี
c. Finance Professionalsนักการเงินมืออาชีพ
d. Investment Bankersที่ปรึกษาทางการเงิน
2. Narrowing the field of acquisition targets
a. A Preliminary List
b. A Parameter Search
c. Review of Publicity Available Information
d. Qualitative Issuesดูข้อมูลเชิงคุณภาพ
3. Designing strategies to approach the acquisition targetเป้าหมายของการซื้อควบรวมกิจการ
1) Friendly Persuasion Approach เป็นมิตรไหม
2) Opportunistic Approach เป็นการฉกฉวยโอกาสไหมเช่นการเข้าไปซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จนถือ
มากกว่า 25% ได้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ก็ไปตั้งโต๊ะรับซื้อ และกำหนดราคา คือไปฉกฉวยโอกาสเค้า
3) Completely Non-negotiated Approach ไม่ต้องเจรจาต่อรองกัน แต่ไปทำการซื้อตามราคาที่เค้าเสนอขาย
โดยไม่ได้ทำการเจรจาต่อรองกัน นายหน้าทำให้หมด
4. Structuring as effective acquisition agreement
5. Deciding on the use of brokers and finders
a. Document Preparationจัดเตรียมเอกสาร เพื่อให้ broker นำไปให้
b. Feeแล้วจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับ broker
Due Diligence
13
Definitionถ้าต้องการเสนอขายกิจการของเรา หรือเราต้องการเสนอซื้อกิจการใดใด ก็ให้ผู้เสนอขายจัดทำ profile ของบริษัท
ขณะเดียวกันเราตรวจสอบงบการเงินและทีมฝ่ายบริหาร แล้วกำหนดราคาเสนอขาย, ผู้ซื้อได้รับข้อมูลก็ทำการศึกษา แล้วนัด
วันเจรจาต่อรอง
Implementationผู้ซื้อศึกษาผลประโยชน์ที่ได้รับ, หลังจากที่ซื้อแล้ว cash flow projection เป็นอย่างไร, ราคาที่ซื้อควรเป็น
เท่าไร เพื่อให้มีราคาในใจ
Exportingการส่งออก
Great opportunity ahead:โอกาสที่เรามองเห็น
• Baht depreciationค่าเงินบาทอ่อนค่าลง
• Increasing government supportsถ้ารัฐบาลสนับสนุนเพิ่มมากขึ้น
• High growth of business expandingธุรกิจได้มีการขยายตัวเจริญเติบโตมากขึ้น
• Could get more profit on FOREXถ้าเราสามารถหาผลตอบแทนจากอัตราแลกเปลี่ยนได้
Type of Exporters:ประเภทของการส่งออก
• Type of Exportersไม่ว่าจะเป็นชนิดไหนต้องมีการ register ก่อน
1) General Exporterส่งออกสินค้าทั่วๆไป
2) Standard Products Exporterส่งออกสินค้ามาตรฐานที่แต่ละประเทศได้กำหนดเอาไว้
• General Exporter Registration
• Standard Products Exporter Registration
• What is a Group of Standard Products?
Export Company
• Organization chart:
- Small scale
- Big scale
• Budgeting:
- Cash flow statement
- Profit and loss statement
ขนาดของบริษัทใหญ่เล็กต่างกัน การทำการประมาณการณ์ทางการเงินก็จะแตกต่างกันออกไป ในเรื่องของงบกระแสเงินสด
งบกำไรขาดทุน งบดุล, ในการส่งออก financial projection esp. cash flow ในการส่งออกเราต้องเปิด letter of credit ซึ่งตัว
มันเองมีมูลค่าสามารถไปเปิดวงเงิน packing credit กับธนาคารได้ ถ้ามี packing credit แล้วก็จะมีเงินไปซื้อวัตถุดิบสินค้า
เตรียมไว้ก่อน แล้วเมื่อส่งออกแล้ว พอ present เอกสารให้กับแบงก์ แบงก์ก็จะไปเรียกเก็บ เงินก็จะเข้ามา ถ้าเราบริหาร
จัดการแบบนี้ได้ เงินทุนที่เราต้องใช้ในการส่งออกก็จะไม่เยอะ, แต่ถ้าเราไม่มีวงเงินกับธนาคาร ไม่มีเครดิตกับ suppliers เงิน
14
ลงทุนด้านสินค้า วัตถุดิบต่างๆ ทำให้ cash in flow เราก็จะเยอะ ต้องรอสินค้าเสร็จ ส่งออก เงินถึงจะเข้ามา ถ้าการบริหาร
กระแสเงินตรงนี้ไม่ดี กระแสเงินสดติดลบ ต้องไปกู้ยืมเงินมา ก็จะทำให้ต้นทุนทางการเงินของเราสูง, ในการส่งออกแต่ละ
lot ควรคำนวณงบกำไรขาดทุนในแต่ละ lot หรือ orderให้ได้ แล้วต้องมีการจัดทำงบดุล
Export Pricing: ราคาในการส่งออก
• Different concept between domestic and exporting pricing.ราคาส่งออกจะแตกต่างกันระหว่างใน-นอกประเทศ
• Exporting pricing:
􀂃 FOB (Free on Board)ราคา ณ ท่าเรือที่กรุงเทพ
= product cost +ค่าบริการขนส่ง+ ค่าชิป ณ ท่าเรือกรุงเทพ+ margin
􀂃 CIF (Cost, Insurance, and Freight)ค่าขนส่งระหว่างประเทศณ ท่าเรือนาโกย่า
= ราคา ณ ท่าเรือกรุงเทพ + ค่าเรือขนส่ง + ค่าประกัน
􀂃 C&F (Cost and Freight)
= ราคา ณ ท่าเรือกรุงเทพ + ค่าขนส่ง
• FOB Pricing:
􀂃 Product Cost B100
􀂃 Plus Service/ Transport 7
􀂃 Plus Shipping 3
􀂃 Plus 30% margin 30
= FOB Bangkok 140
• CIF Pricing:
􀂃 CIF = FOB + Freight + Insurance
􀂃 FOB Bangkok B140
􀂃 Plus Freight 30
􀂃 Plus Insurance 50
= FOB Nagoya 220
การพิจารณาค่าส่งออก
1) การพิจารณา Packageคิดวิธีไหนแพงกว่าก็คิดราคานั้น
a. Gross Weight (G.W.)/ Net Weight (N.W.) = นน.สินค้ารวมแพค/นน.สินค้าที่ยังไม่ได้แพค
b. Cubic Metre (W*L*H) ปริมาตรสินค้า
c. Box Sizeตามขนาดกล่องบรรจุ
2) Container Size?
a. 20 Ft., 22 tons, 30 cubic metre.
b. 40 Ft., 26 tons, 58 cubic metre.
Export Procedure
15
• Company registrationนิติบุคคลจดกับกรมศุลกากร ให้ได้รหัสผู้ส่งออก
• Sales presentation ฝ่ายขายนำเสนอสินค้า and P/O receivingได้รับคำสั่งซื้อสินค้า
• Product procurement and documentsจัดหาตัวสินค้าหรือผลิต จัดทำเอกสาร
• Customsประสานงานกับศุลกากร
• Shippingไปดูเลือกตารางเรือส่งเลือกชนิดเรือ: เรือช้า เรือจูง เรือเร็ว
• Insuranceติดต่อประกันสินค้า
• Bill Collection
Sales Presentation
• Sale package:
- Company profile
- Products catalogue/ Brochure
- Price quotation and conditions
- Samples
Export Documents
• Sale contract:
􀂾 Cash in Advanceจ่ายเงินสดล่วงหน้า ดีสุด
􀂾 Letter of Credit (L/C)ใบเรียกเก็บเงินผ่านแบงก์ๆเป็นตัวแทนเรียกเก็บ ผู้ขายเสี่ยงน้อย
􀂾 Document against Payment (D/P)สัญญาเก็บเงินระหว่างผู้ขาย-ซื้อ, ธนาคารไปเก็บเงินให้ ได้ไม่ได้
ขึ้นกับผู้ซื้อและผู้ขาย มีความเสี่ยงมากขึ้น, ถ้าลูกค้ามีเครดิตอยู่กับทางแบงก์ๆอาจจะจ่ายเงินมาให้ก่อน
แล้วจึงไปเก็บเงินกับลูกค้า
􀂾 Document against Acceptance (D/A)สัญญาเก็บเงินระหว่างผู้ขาย-ซื้อ และผู้ซื้อต้องลงนามยอมรับ
สินค้าก่อน แบงก์จึงจะจ่ายเงินให้
􀂾 Telex Transfer (T/T)ถ้าจ่ายเงินมาก่อนส่งมอบสินค้าไม่มีความเสี่ยง, แต่ถ้าจ่ายเงินหลังจากสินค้าไปถึง
แล้ว มีความเสี่ยงร้อยเปอร์เซนต์ ผู้ขายเสี่ยงมาก
• Pro forma Invoiceใบกำกับสินค้าบอกรายการสินค้าและราคาสินค้า
• Commercial Invoiceใบประวัติสินค้า
• Packing Listรายละเอียดเกี่ยวกับตัวสินค้าต่างๆ
• Bill of Lading (B/L)ใบขนส่งสินค้า
• Airways Billใบขนส่งทางอากาศ
Sales Processความแตกต่างของกระบวนการขายระหว่างผู้นำเข้าvsผู้ส่งออก
Importer Exporter
Enquiry/ Sample Orderดูสินค้าตัวอย่าง Price Quotation/ Sampleเสนอ ตย.สินค้าพร้อมราคา
16
Purchasing Order (P/O)ออกใบสั่งซื้อ Pro Forma Invoiceทำใบรับคำสั่งซื้อ
Issue Letter of Credit (L/C)ทำกับธนาคาร L/C Receiving/ Packing Creditถ้าเงินไม่พอ, เอา L/C
ไปแคสเงินออกมากับธนาคาร
Shipping Documentsรอได้รับเอกสารการขนส่ง Product Shippingจัดส่งสินค้า
Custom Clearance ไปจ่ายเงินที่ศุลกากร Bill Collectionเรียกเก็บเงินจากลูกค้า
แบบฝึกหัดในห้องเรียน
โจทย์: นักเก็งกำไรค่าเงินคนหนึ่ง มีเงินทุน 10 ล้านดอลล่าร์ สหรัฐ และต้องการวัดผลตอบแทนจากการเก็งกำไรในรูปเงิน
สกุลดอลล่าร์สหรัฐ
􀂃 Spot Rate $1.3358/€
􀂃 30-days forward rate $1.3350/€
ก. หากนักเก็งกำไรมั่นใจว่า เงินยูโรจะแข็งค่าขึ้นเทียบกับเงินดอลล่าร์สหรัฐ ไปอยู่ที่ระดับ$1.3600/€ ในอีก 30 วัน
ข้างหน้า นักเก็งกำไรจะตัดสินใจอย่างไร
- แลกเงิน $ 10 ล้าน ที่ spot rate $1.3358/€; รับ €= 10,000,000/1.3358= € 7,486,150.62
- 30 วันผ่านไป แลกเงิน €7,486,150.62 ที่ spot rate $ 1.3600/€; รับ $ = 7,486,150.62 * 1.3600=
10,181,164.85
- รับรู้กำไร $ 10,181,164.85 - 10,000,000 = 181,164.85 $
ข. ในทางตรงกันข้าม กรณีที่นักเก็งกำไรมั่นใจว่าเงินยูโรจะอ่อนค่าลงเทียบกับเงินดอลล่าร์สหรัฐ ไปอยู่ที่
ระดับ$1.2800/€ในอีก 30 วันข้างหน้า นักเก็งกำไรจะตัดสินใจอย่างไร
- ซื้อ 30-day forward rate contract เงิน € ณ ปัจจุบัน
แสดงว่าต้องส่งเงิน € เป็นจำนวน 10,000,000/1.3350 = 7,490,636.71 €
- 30 วันผ่านไป ซื้อ €7,490,636.71 ที่ spot rate $1.2800/€
คิดเป็น $ 7,490,636.71 * 1.2800 = $ 9,588,014
- 30 วันผ่านไป ขาย €7,490,636.71 ที่ forward rate $1.3350/€
รับเงิน $ 10,000,000
รับรู้กำไร $ 10,000,000 - $ 9,588,014= $ 411,985